กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/83
ชื่อเรื่อง: การศึกษาข้อมูลทางคลินิก ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การดูแลตนเอง และคุณภาพการบริการ ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of clinical data : diabetic knowledge, self-care, and the quality of services among diabetic patients at the Health Science Center, Burapha University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาวนา กีรติยุตวงศ์
สุวรรณี มหากายนันท์
นิภาวรรณ สามารถกิจ
ดารัสนี โพธารส
วัลลดา เล้ากอบกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
บริการการพยาบาล
มหาวิทยาลัยบูรพา ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ - - ผู้ป่วย
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
เบาหวาน - - ผู้ป่วย - - การดูแล
วันที่เผยแพร่: 2542
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาข้อมูลทางคลินิก ความรู้เรื่องโรคเบาหวานการดูแลตนเอง และคุณภาพการบริการในผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการตรวจที่คลินิกเฉพาะโรคเบาหวาน ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 149 ราย ระหว่างเดือนพฤศจิกาย พ.ศ.2540 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ.2541 เครืองมือในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แบบทดสอบถามเกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน และการประเมินคุณภาพการบริการ ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่ศึกษาเป็นผู้ป่วยหญิงมากกว่าผู้ป่วยชาย อายุเฉลี่ย 60 ปี (SD= 10.95 ปี) เป็นโรคเบาหวานมานาน 6.85 ปี (SD= 6.42 ปี) สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 76.5 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบมัธยมศึกษาร้อยละ 67.1 ผู้ป่วยประกอบอาหารเองเป็นส่วนใหญ่เดินทางมาโรงพยาบาลโดยรถประจำทาง และมีค่าเฉลี่ยดรรชนีความหนาของร่างกายสูงกว่าค่าปกติทั้งเพศชายและเพศหญิง ผู้ป่วยในกล่มที่ศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้ในเรื่องสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน อาการของโรคเบาหวาน ประโยชน์ของการควบคุมน้ำหนัก ประโยชน์ของการออกกำลังกาย การตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคเบาหวานการดูแลสุขภาพตนเอง อาหารที่ควรลดหรืองดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และการรักษาโรคเบาหวานได้ถูกต้อง และมากกว่าร้อยล่ะ 80 ที่เลือกคำตอบในแต่ละข้อคำถามมากกว่า 1 ข้อ แต่อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ไม่มีความรู้ดังกล่าวข้างต้น โดยความรู้ที่ผู้ป่วยไม่ทราบมากที่สุดคือเรื่องการตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะ (48.3%) ประโยชน์ของการออกกำลังกาย (18.1%) ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน (16.1%) การป้องกันโรคเบาหวาน (5.4%) การดูแลสุขภาพตนเอง (4.7%) การควบคุมอาหาร (4%) การรักษา(2.7%) ในเรื่องความรู้สึกต่อการเป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยร้อยละ 84.6 ยอมรับได้ต่อการเป็นโรคเบาหวาน และผู้ป่วยร้อยละ 69.8 มีความรู้สึกมากกว่า 1 ข้อโดยรู้สึกว่าสิ้นเปลืองค่ารักษา และเป็นภาระต่อครอบครัว ผู้ป่วยส่วนใหญ่ปฏิบัติกิจกรรมการดูแลตนเองเรื่องการรับประทานยาครบทุกมื้อ และไปตรวจตามนัดมากที่สุด แต่กิจกรรมเรื่องการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา การแก้ไขอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ ปฏิบัติได้น้อยสุด ผู้ป่วยรับรู้คุณภาพการบริการอยู่ในระดับดีมาก โดยเลือกข้อได้รับความสะดวกจากเจ้าหน้าที่มากที่สุด และเลือกข้อแพทย์ เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจน้อยที่สุด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/83
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_004.pdf2.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น