กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/824
ชื่อเรื่อง: การพัฒนามาตรฐานการวัดและประเมินผลและโมเดลการจัดทำธนาคารข้อสอบสำหรับครูของโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A development of measurement and evaluation standards and item bank appeoach model for teachers in Thai secondary schools
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศ์เทพ จิระโร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ธนาคารข้อสอบ
มาตรฐานการวัดและประเมินผล
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการวัดและประเมินผลการศึกษาและสภาพการจัดทำธนาคารข้อสอบของครู เพื่อพัฒนามาตรฐานตัวบ่งชี้และเกณฑ์สำหรับมาตรฐานการวัดและประเมินผล เพื่อพัฒนาแบบจำลองแนวทางการจัดทำธนาคารข้อสอบ เพื่อทดลองใช้และประเมินมาตรฐานการวัดและประเมินผล และประเมินแบบจำลองแนวทางการจัดทำธนาคารข้อสอบที่พัฒนาขึ้น สรุปผลวิจัย ผลการศึกษาสภาพความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาและการจัดทำธนาคารข้อสอบก่อนการทดลองใช้ พบว่าครูมีระดับความรู้ไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุด (38.30%) รองลงมามีความรู้อ่อน (28.60%) และมีความรู้พอใช้ (21.00%) โดยมีความรู้อยู่ในระดับดีขึ้นไปเพียง (13.80%) ทัศนคติต่อการวัดและการประเมินผล ของครโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า ครูโรงเรียนมัธยมศึกษามีทัศนคติต่อการวัดและประเมินผลโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x¯ = 3.66, SD = .41) และพบว่าการปฏิบัติในการวัดและการประเมินผลของครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x¯ =3.85, SD = .58) ผลการแปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติด้านการวัดและประเมินผลของครูที่มีเพศต่างกัน โดยการทดสอบค่าที (Independent t-test) พบว่า ครูมัธยมที่มีเพศต่างกัน มีความรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนทัศนคติและการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ครูมัธยมที่มีภูมิภาคต่างกัน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way ANOVA) พบว่า ครูมัธยมที่อยู่ในภูมิภาคต่างกัน มีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการศึกษา ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 จำแนกตามตำแหน่ง พบว่า ครูมัธยมที่ตำแหน่งต่างกัน มีความรู้ ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 จำแนกตามระดับการศึกษาสาขาการศึกษาสูงสุด พบว่า ครูมัธยมที่ระดับทางการศึกษาต่างกัน มีความรู้ ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนทัศนคติ และการปฏิบัติต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการศึกษาและการจัดทำธนาคารข้อสอบ กับ อายุ ประสบการณ์ ของครูมัธยมโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment) พบว่า ความรู้มีความสัมพันธ์กับอายุและประสบการณ์การทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การปฏิบัติมีความสัมพันธ์กับอายุ ประสบการณ์การทำงาน และทัศนคติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการพัฒนา มาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ และแบบจำลองแนวทางการจัดทำธนาคารข้อสอบ โดยนำสารสนเทศจากระยะแรกไปร่างแบบจำลองแนวทางการจัดทำธนาคารข้อสอบ และได้มาตรฐานการวัดและประเมินผลและธนาคารข้อสอบของโรงเรียนมัธยม 7 มาตรฐาน 19 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย มาตรฐานการวัดผล 3 มาตรฐาน 9 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานด้านการประเมินผล 2 มาตรฐาน 6 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานด้านธนาคารข้อสอบ จำนวน 2 มาตรฐาน 4 ตัวบ่งชี้ นำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 17 ท่าน ตรวจาสอบความเหมาะสมโดยใช้ค่ามัธยฐาน (Mdn) และความสอดคล้องโดยค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ (IQR) พบว่า แบบจำลองแนวทางการจัดทำธนาคารข้อสอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกรายการ และทุกรายการมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ความเหมาะสมของมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สดเท่ากัน 2 รายการ นอกจากนั้นมีความเหมาะสมระดับมาก และมีความสอดคล้องกันทุกรายการ ความเหมาะสมของ เกณฑ์ พบว่า มีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากัน 4 รายการ นอกจากนั้นมีความเหมาะสมระดับมาก และมีความสอดคล้องกันทุกรายการ หลังทดลองใช้ พบว่า ครูโรงเรียนนำร่องมีความรู้ด้านการวัดและการประเมินผลและการจัดทำธนาคารข้อสอบในระดับดีมาก มากที่สุด (74%) โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีขึ้นไป 98% ทัศนคติต่อการวัดและประเมินผล ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษามีทัศนคติต่อการวัดและประเมินผลโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (x¯ = 3.93, SD = .37) การปฏิบัติในการวัดและการประเมินผล โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x¯ = 3.89, SD = .43) ผลการศึกษาพัฒนาการด้าน ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรฐานด้านการวัดและประเมินผลโดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรฐานด้านการวัดและประเมินผลระหว่างก่อนทดลองใช้ และหลังทดลองใช้ของครูโรงเรียนนำร่อง โดยการทดสอบค่าที (Independent t-test) พบว่า หลังทดลองใช้สูงกว่าก่อนทดลองใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลการประเมินของครูหลังทดลองใช้ มาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ และแบบจำลองแนวทางการจัดทำธนาคารข้อสอบ ด้านอรรถประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน และเมื่อพิจารณาโดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/824
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น