กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/823
ชื่อเรื่อง: การกระจายและการสะสมตัวของโลหะหนัก แคดเมียม ตะกั่ว ทองแดง เหล็ก แมงกานีส และสังกะสี ในดินตะกอนจากแหล่งน้ำในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Distribution and accumulation of heavy metals (Cd, Pb, Cu, Fe, Mn and Zn) in aquatic sediments around maptapud industrial estate, Rayong province.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวรรณา ภาณุตระกูล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ดินตะกอน
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
โลหะหนัก
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ทำการศึกษาระดับความเข้มข้น และการกระจายตัวของแคดเมียม ทองแดง สังกะสี ตะกั่ว แมงกานีส และเหล็กในดินตะกอนขนาดเล็กกว่า 125 µm จากแหล่งน้ำผิวดิน และชายฝั่งทะเลในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด พบค่าความเข้มข้นของแคดเมียม ทองแดง สังกะสี ตะกั่ว แมงกานีส และเหล็กในดินตะกอนจากแหล่งน้ำผิวดินมีค่าเฉลี่ย ± SD เท่ากับ 0.23 ± 0.18, 32.8 ±23.6, 289.6 ± 381.2, 66.6 ± 65.8, 734 ± 810 µg/g (dry wt.) และ 16.7 ± 7.9 mg/g (dry wt.) ตามลำดับ ส่วนค่าความเข้มข้นของแคดเมียม ทองแดง สังกะสี ตะกั่ว แมงกานีส และเหล็กในดินตะกอนจากชายฝั่งทะเล ค่าเฉลี่ย ± SD เท่ากับ 0.15 ± 0.18, 12.78 ± 14.4, 151.8 ± 304.2, 5.79 ± 3.63, 351.9 ± 307.9 µg/g (dry wt.) และ 12.08 ± 5.11 mg/g (dry wt.) ตามลำดับ ความเข้มข้นของแคดเมียในดินตะกอนจากแหล่งน้ำผิวดิน และชายฝั่งทะเลมีค่าไม่เกินมาตรฐานคุณภาพดินตะกอนแหล่งน้ำผิวดิน และดินตะกอนชายฝั่งทะเล ในขณะที่พบความเข้มข้นของ ทองแดง สังกะสี ตะกั่วในบางสถานีเก็บตัวอย่างมีค่าเกินมาตรฐานฯ โดยสังกะสีเป็นโลหะหนักที่มีระดับการปนเปื้อนสูงเกินมาตรฐานถึงกว่า 10 เท่า สถานีที่มีค่าความเข้มข้นของแคดเมียมสูง และโลหะอื่นๆ เกินมาตรฐานจะตั้งอยู่ในพื้นที่คลองชากหมาก ซึ่งเป็นคลองที่ไหลผ่านนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ส่วนในพื้นที่คลองห้วยใหญ่ และคลองพยูนซึ่งเป็นส่วนต่อขยายของพื้นที่นิยมอุตสาหกรรมฯ มีค่ารองลงมา และในเขตพื้นที่คลองทับมา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรมตั้งอยู่น้อยที่สุดก็มีค่าความเข้มข้นของแคดเมียม ทองแดง สังกะสี และตะกั่วต่ำที่สุดด้วย เป็นที่สังเกตได้ว่าสถานีที่มีค่าความเข้มข้นของโลหะหนักสูงจะตั้งอยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม และโรงไฟฟ้า ความเข้มข้นของแคดเมียม ทองแดง สังกะสีในดินตะกอนชายฝั่งทะเลหน้าพื้นที่นิยมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมีค่าลดต่ำลงตามระยะทางห่างฝั่ง บริเวณปากคลองชากหมาก และคลองอื่นๆ รวมถึงบริเวณโดยรอบท่าเรือมาบตาพุดและโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีเป็นบริเวณที่มีค่าสูง แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมจากแผ่นดินเป็นที่มาของโลหะหนักที่สะสมตัวในดินตะกอนชายฝั่งทะเล การสะสมตัวของโลหะหนักในดินตะกอน การดูดซับโลหะหนักบนพื้นผิวของอนุภาคของสารอินทรีย์ น่าจะเป็นกระบวนการสำคัญที่มีผลต่อการสะสมตัวของโลหะหนักในดินตะกอนในแหล่งน้ำผิวดิน ในขณะที่การสะสมตัวของโลหะหนักในดินตะกอนชายฝั่งทะเลนอกจากจะเกิดจากการตกตะกอนกับสารอินทรีย์แล้ว กระบวนการตกตะกอนร่วมกับเหล็กและแมงกานีสออกไซด์ ก็น่าจะเป็นอีกกระบวนการที่มีความสำคัญ ในการควบคุมการสะสมตัวของโลหะหนักในดินตะกอนชายฝั่งบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/823
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น