กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/817
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | อาภรณ์ ดีนาน | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:54:45Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:54:45Z | |
dc.date.issued | 2555 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/817 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงพรรณนา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาภาวะเมตาโบลิคซินโดรมของประชาชนในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยที่มีภาวะเมตาโบลิคซินโดรมที่มารับบริการ ณ คลินิคโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมคุณภาพประจำตำบลและหน่วยปฐมภูมิของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดชลบุรี จำนวน 330 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ของ NCEP ATP เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย แบบสอบถามพฤติกรรมพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ สายวัดรอบเอว เครื่องวัดส่วนสูง เครื่องชั่งน้ำหนักและวัดเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายและแนวคำถามสำหรับการอภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนา Pearson’s correlation, Multiple Regression และ การวิเคราะห์เพื่อจัดหมู่เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 60.19 ปี (M=60.19, SD=10.8) รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท (M=4,941.70, SD=9868.10) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ไม่ได้ประกอบอาชีพ มีโรค/ รับการรักษาภาวะเรื้อรัง และมีการใช้สมุนไพร/อาหารเสริม 2. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การใช้สมุนไพร (r=.159,p<.05) การรับประทานของคบเคี้ยว(SNACK)(r=.136,p<.05) การควบคุมน้ำหนักร่างกาย (r=.132,p<.05) การดูรายการทีวีเพื่อสุขภาพ (r=-.137,p<.05) และการรับรู้ภาวะสุขภาพ (r=-.103,p<.05) 3. ปัจจัยทำนายเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของผู้ที่มีภาวะเมตาโบลิคซินโดรม ได้แก่ การใช้สมุนไพร (Beta=.147,p<.05) การควบคุมน้ำหนักร่างกาย (Beta=.206,p<.05) การรับประทานของขบเคี้ยว (Beta=.195,p<.05) การดูรายการทีวีเพื่อสุขภาพ(Beta=-.137,p<.05) และการรับรู้ภาวะสุขภาพ (Beta=-.123,p<.05) โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายได้ร้อยละ 10.9 (p<.05) 4. ผลการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ของการอภิปรายกลุ่ม พบว่ากลุ่มตัวอย่างไม่รู้จักภาวะเมตาโบลิคซินโดรมแต่เคยได้ยินชื่อ “อ้วนลงพุง” รับรู้ว่าภาวะอ้วนลงพุงดังกล่าวเกิดจากการสะสมของไขมัน ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและเกิดการเจ็บป่วยเรื้อรังตามมา สาเหตุของ “อ้วนลงพุง” ได้แก่ 1) มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม 2) ไม่ออกกำลังกายหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายหรือใช้ชีวิตประจำวันแบบสุขสบาย 3) มีการใช้ยาบางชนิด 4) ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ 5) จากการตั้งครรภ์ 6) มีอาหารในชุมชนอุดมสมบูรณ์และหลากหลาย หาซื้อได้ง่าย 7) ขาดสถานที่และผู้นำออกกำลังกายในชุมชนการป้องกันและลดภาวะเมตาโบลิคซินโดรม ได้แก่ 1) ควรส่งเสริมกิจกรรมระดับบุคคล เช่น ส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัวรับประทานเอง ปลูกและใช้สมุนไพรเพื่อลดอาการเมื่อเกิดภาวะเมตาโบลิคซินโดรม ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง 2) ควรมีกิจกรรมระดับชุมชน เช่น ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนให้มีการจัดตั้งกลุ่มหรือชมรมเพื่อออกกำลังกายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ควรมีกลุ่มอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและลดภาวะเมตาโบลิคซินโดรม และกระตุ้นให้มีกิจกรรมของชมรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง 3) ปรับปรุงระบบบริการสาธารณสุข โดยให้บุคลากรทางด้านสุขภาพให้ความรู้คน ในชุมชนเกี่ยวกับภาวะเมตาโบลิคซินโดรม ผลกระทบต่างๆให้คำแนะนำในการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและพร้อมเข้าใจปัญหาและช่วยหาแนวทาง ในการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมของผู้รับบริการ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สนับสนุนโดย สำนักบริหารโครงการส่งเสริมวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | Metabolib Syndrome | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.subject | เมตาโบลิคซินโดรม | th_TH |
dc.title | การศึกษาภาวะเมตาโบลิคซินโดรม (Metabolic Syndrome) ของประชาชนในจังหวัดชลบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | A study of metabolic syndrome of people in Chon Buri province | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2555 | |
dc.description.abstractalternative | Known as antecedence of diabetes mellitus and cardiovascular diseases, metabolic syndrome (MS) is a new threat of health problem. The objectives of this study were to explore MS situation, its determinants, and its management for Thai people in Chon Buri province. Using NECP ATP | criteria, 300 metabolic persons were recruited to assess body fat percentage and filled out a package of questionnaire including demographic, health status, eating behavior, exercise behavior, risk behavior and MS management. Furthermore, 30 metabolic persons were recruited to participate in 3- hour focus group guiding by semi-construct questionnaire. The results showed as follow: 1. The majority was female, average age 60.19 (SD=10.8), low income (5,000 baht (M=4,941.70, SD=9868.10), primary school completion, housewife, received treatment for chronic illness (hypertension, diabetes, & hyperlipidemia), and utilized herbs/complementary therapy. 2. Body fat percentage was related to herb utilization (r=.159,p<.05),SNACK (r=.136, p<.05), weight control (r=.132, p<.05),received health information from TV, (r=-.137,p<.05), and perceived health status (r=-.103,p<.05)) 3. Predicting factors of percent body fat included herb utilization (Beta=.147,p<.05) weight control (Beta = .206,p <.05), received health information from TV (Beta = -.137,p <.05),perceived health status (Beta =-.123, p <.05) Total variance explain account for 10.9 (p <.05) 4. The content analysis of focus groups revealed that participants did not know the term of “metabolic syndrome”, however, the term they know was “Ouan Long Pung (visceralobesity). Salient characteristics of MS were physical change especially longer waist circumference than normal. MS impacted health status and contribute to chronic illness. The causes of MS included 1) inappropriate eating behaviors e.g. high fat food, high amount of food, and cook high amount of food 2) lack exercise/low physical activities in daily life 3)taking some medication 4) genetics 5) pregnancies 6) living in plenty/ variety food environments, and 7) lack exercise places and exercise leaders. Prevention of MS included 1) promote individual activities e.g. healthy eating behavior, plant organic food, promote long-term exercise, and utilize Thai herbs which improve metabolism 2) promote community activities based on coalition of government and private sectors to support community for long-term exercise and support health volunteers to monitor MS and initiate prevent and reduce signs and symptoms of MS. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_199.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น