กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/816
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอิสราภรณ์ พลนารักษ์th
dc.contributor.authorกมลวรรณ รอดหริ่งth
dc.contributor.authorศิริวรรณ ภิญโญสิริพันธุ์th
dc.contributor.authorคณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.date.accessioned2019-03-25T08:54:45Z
dc.date.available2019-03-25T08:54:45Z
dc.date.issued2555
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/816
dc.description.abstractการวิจัย เรื่อง การบริหารจัดการการท่องเที่ยวบนฐานชุมชนของหมู่บ้านท่องเที่ยว OVC บ้านตลาดล่าง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ทราบถึงสถานภาพส่วนบุคคลของคณะกรรมการบริหารโครงการหมู่บ้านท่องเที่ยว OVC 2) อธิบายถึงกระบวนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวบนฐานชุมชน 3) ระบุระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในกระบวนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของโครงการหมู่บ้านท่องเที่ยว OVC และ 4) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการของประชาชนที่เป็นสมาชิกและไม่ได้เป็นสมาชิกโครงการหมู่บ้านท่องเที่ยว OVC ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกเป็นคณะกรรมการบริหารโครงการหมู่บ้านท่องเที่ยวทั้งหมดจำนวน 9 คน กลุ่มที่สองคือ ประชาชนหัวหน้าครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในชุมชนทั้งที่เป็นสมาชิกโครงการและไม่เป็นสมาชิกโครงการที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดสัดส่วนจำนวนทั้งสิ้น 90 คน เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างซึ่งผ่านการทดสอบความตรง และความคงที่แล้ว การรวบรวมข้อมูล ได้ดำเนินการระหว่างเดือน ตุลาคม 2554 – มกราคม 2555 และนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS) ผลการวิจัยในแต่ละวัตถุประสงค์สรุปได้ดังนี้ 1) คณะกรรมการบริหารโครงการหมู่บ้านท่องเที่ยว OVC บ้านตลาดล่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 59 ปี สำเร็จการศึกาในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และระดับปริญญาตรีเท่ากัน ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มใหญ่มีอาชีพค้าขายและธุรกิจส่วนตัว และการประมงพื้นบ้าน คณะกรรมการบริหารส่วนมากมีประสบการณ์การให้บริการการท่องเที่ยว และเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคมอื่นๆด้วย 2) กระบวนการการบริหารจัดการโครงการหมู่บ้านท่องเที่ยว ผลวิจัยพบว่า คณะกรรมการการบริหารโครงการมีการปฏิบัติตามขั้นตอนการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ จำนวน 4 ขั้นตอน จากขั้นตอนทั้งหมด 5 ขั้นตอน ซึ่งได้แก่ ขั้นตอนการทบทวนการกำหนดทิศทางภารกิจและเป้าหมายในการจัดทำแผนกลยุทธ์ การทบทวนและจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อดำเนินการ การนำแผนไปสู่การปฏิบัติและการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ส่วนขั้นตอนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ ข้อจำกัดนั้น คณะกรรมการบริหารโครงการไม่ได้มีการปฏิบัติแต่อย่างใด 3) ผลการวิจัยเกี่ยวกับระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกและไม่ได้เป็นสมาชิกโครงการในกระบวนการบริหารจัดการท่องเที่ยว พบว่า ผู้ให้ข้อมูลมากกว่าครึ่งเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 47 ปี ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มใหญ่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา และประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำประมงพื้นบ้าน ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว พนักงานบริษัทและรับราชการ ส่วนใหญ่เกิดและอาศัยในชุมชนแห่งนี้ โดยมีระยะเวลาเฉลี่ย 42 ปี และไม่มีประสบการณ์ในการให้บริการการท่องเที่ยว ยกเว้นผู้ให้ข้อมูลที่เป็นสมาชิกโครงการ ผลการวิจัยเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกและไม่ได้เป็นสมาชิกโครงการหมู่บ้านท่องเที่ยว ในกระบวนการบริหารจัดการท่องเที่ยว 5 ขั้นตอนนั้น พบว่า ผู้ให้ข้อมูลที่เป็นสมาชิกมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการในระดับน้อยจำนวน 4 ขั้นตอน และไม่มีส่วนร่วมเลย 1 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล ส่วนผู้ให้ข้อมูลที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ผลวิจัยพบว่า ไม่มีส่วนร่วมในขั้นตอนใดเลย 4) การเปรียบเทียบความแตกต่างระดับการมีส่วนร่วมของผู้ให้ข้อมูลที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิกในกระบวนการบริหารจัดการด้วยสถิติ t-test พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งในทุกขั้นตอน โดยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลที่เป็นสมาชิกมีระดับการมีส่วนร่วมที่สูงกว่าผู้ให้ข้อมูลที่ไม่เป็นสมาชิก The research entitled “ Community – Based Tourism Management of the Tourism OTOP village Champion” aimed to find the empirical answer of the following objectives; 1) to study the personal status of the administrative committees of the tourism OTOP village champion, Ban Talad Luang, Sriracha District, Chonburi Province; 2) to describe the management process of the tourism OTOP village champion project; 3) to identify the participation’s level of the villagers on the management of tourism OTOP village champion and 4) to compare the level of participation on the management process between members and non-members of the the tourism OTOP village champion. The respondents were divided into two groups. The first group was all the administrative committees of the tourism OTOP village champion project while the second group was the household heads who lived in this community (members and non-members of the tourism village project), selected by quota sampling. Data were collected by means of interview schedule from 90 household heads. Data collection were conducted between the month of October 2011 to January 2012 and analyzed by using the SPSS computer program. Research results in each objective can be summarized as follows : 1) Majority of the administrative committees of the tourism OTOP village champion (OVC) Ban Talad Luang were female, 59 years on average, finished elementary and high school education as well bachelor degree equally in number. Their main occupations were personal businesses and local fisheries. Most of them have experienced in providing the hospitality and tourism service to the travelers and joined the other social organizations/groups in the community. 2) Management of the tourism OTOP village champion (OVC) project. The research results showed that the administrative committees have implemented 4 out of the 5 steps of strategic management process namely ; revision and determination of the direction, mission and goal of the strategic plan ; revision and preparation the strategic plan ; take the plan and programs. Only the step of environmental analysis to find out the strengths, weaknesses, opportunities and threats of the community, was not implemented. 3) Participation’s level of the villagers on the management of OTOP village champion project. It revealed that more than one half of the respondents were female, 47 years old on average, majority of them finished high school education. Agriculture, Local and personal business were their major occupations. Most of them were local residents and lived in this community for 42 years on average. Majority reported tat they did not have any experience in hospitality and tourism services except those respondents who were the members of OTOP village champion project. Regarding the participation of the respondents (members and non – members of OTOP village champion) on the project’s management, it revealed that the respondents who were the member of OTOP village champion, participated in 4 out of 5 steps of strategic management process but only in low level. Moreover, they did not participate in the step of monitoring and evaluation. Likewise, it found that the non-members were not participated in any step of management. 4) In comparing the differences between the participation’s level of members and non-members of OTOP village champion, it was found to have highly significant different in every steps of management. Moreover, the findings revealed that the participation of the members was higher the non-members of OTOP village champion.th_TH
dc.description.sponsorshipสนับสนุนโดย สำนักบริหารโครงการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการท่องเที่ยวth_TH
dc.subjectการบริหารจัดการth_TH
dc.subjectการมีส่วนร่วมth_TH
dc.subjectชุมชนth_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.titleการบริหารจัดการการท่องเที่ยวบนฐานชุมชนของหมู่บ้านท่องเที่ยว OVC บ้านตลาดล่าง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรีth_TH
dc.title.alternativeCommunity-based tourism management of the tourism OTOP village champion Ban Talad Lang, Sriracha district, chonburi provinceth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2555
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น