กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8106
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธนภณ นิธิเชาวกุล | |
dc.contributor.author | ณัฐณรงค์ สร้อยคีรี | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T06:54:30Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T06:54:30Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8106 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (บธ.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจ และเสนอแนะช่องทางการสื่อสารที่มีผลต่อความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตจังหวัดชลบุรีเกี่ยวกับการนำทรัพย์สินมาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจ โดยได้ดำเนินงานวิจัยแบบผสม (Mix Method) ส่วนแรกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตจังหวัดชลบุรี จำนวน 116 ราย ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และนำวิธีการหาค่าความเชื่อมั่นของคูเดอร์- ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) มาประยุกต์ใช้เพื่อประเมินและวัดระดับความรู้ความเข้าใจในภาพรวม ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพทำการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านแบบสัมภาษณ์ ซึ่งทำการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตจังหวัดชลบุรี จำนวน 3 คน แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยแบบการศึกษาปรากฏการณ์ (Phenomenology) เพื่อสรุปเกี่ยวกับช่องทางการสื่อสารที่มีผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำทรัพย์สินมาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 36-45 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ผ่านการทำงานมามากกว่า 20 ปี ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจให้บริการมีประสบการณ์การทำงานขอเงินทุนเพียง 1-3 ครั้ง โดยผลการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพตรงกันว่า ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในการนำทรัพย์สินมาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจ ส่วนประเด็นเรื่องช่องทางการสื่อสารที่มีผลต่อความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำทรัพย์สินมาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจ พบว่าผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเคยได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการนำทรัพย์สินมาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจ ผ่านสื่อบุคคลมากที่สุด และเห็นว่าสื่อบุคคลและสื่อเฉพาะกิจบางอย่างมีผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำทรัพย์สินมาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | นักธุรกิจ | |
dc.subject | การสื่อสาร | |
dc.subject | วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ | |
dc.subject | ผู้ประกอบการ | |
dc.title | ช่องทางการสื่อสารที่มีผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำทรัพย์สินมาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตจังหวัดชลบุรี | |
dc.title.alternative | Communiction chnnels ffecting on knowledge nd understnding in using ssets s commercil collterl of smll nd mediu0m enterprises in chonburi | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to study knowledge and understanding of and to suggest communication channels which had effects on the knowledge and understanding of, Small and Medium Enterprises (SMEs) in Chonburi in using assets as commercial collateral. This research applied a mixed method which were quantitative and qualitative methods, subsequently. A questionnaire was used to collect data from samples of 116 SMEs in Chonburi. Statistics for collected data analysis were frequency, percentage, and the measure of reliability test of KuderRichardson which was applied for the findings of SMEs’ knowledge and understanding aggregation result. Then the researcher conducted in-depth interview to collect data from 3 SMEs. This data was analyzed by utilizing a phenomenology study to find the communication channels which had effects on the knowledge and understanding in using assets as commercial collateral for SMEs. The findings showed that most of the samples were female, aged 36-45 years old, which had a Bachelor Degree educational background and had working experiences for more than 20 years. In additions, most of them were in the service business industry and had ever applied for a loan for only 1 to 3 times. Regarding the findings from both of quantitative and qualitative methodologies, they were identically concluded that SMEs in Chonburi had no knowledge and had lack of understanding in using assets as commercial collateral. Furthermore, such SMEs often had obtained the information in relation to using assets as commercial collateral by communication via the personal channel and had opinions that communication via personal channels and via some specialized channels would be the most affecting channel to their knowledge and understanding in using assets as commercial collateral as well. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การเป็นผู้ประกอบการ | |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น