กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/81
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาโรงเรียนนโยบายพิเศษในจังหวัดชลบุรี : กรณีศึกษาเฉพาะโรงเรียนสอนภาษาจีน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development approach of the special policy 's school in Chonburi province : A case study of the Chinese school |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | โรงเรียนสอนภาษาจีน โรงเรียน -- การบริหาร สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2543 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่องนี้ เพื่อการศึกษาแนวทางการพัฒนาโรงเรียนนโยบายพิเศษในจังหวัดชลบุรี กรณีศึกษาเฉพาะโรงเรียนสอนภาษาจีนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ปัญหา ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดการศึกษา การบริหารการศึกษาและการเรียนการสอนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน อันจะนำไปสู่การวางแนวทางเพื่อพัฒนาโรงเรียนในอนาคต วิธีการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์จากเอกสารเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมา ปัญหา และการแก้ปัญหาของโรงเรียนจีนที่ผ่านมา การวิจัยภาคสนามเกี่ยวกับการจัดการศึกษา การบริหารการศึกษา สภาพปัญหา และการแก้ปัญหาของโรงเรียนตัวอย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้ จากการสังเกต การสัมภาษณ์เจาะลึก การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน และการวิจัยทางชาติพันธุ์วรรณาเชิงอนาคต เป็นการศึกษาทรรศนะของผู้เชี่ยวชาญทางการวางแผน การกำหนดนโยบายและการบริหารการศึกษา จำนวน 36 ท่าน ด้วยการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับแนวโน้มและทิศทางการพัฒนาโรงเรียนจีนในอนาคต ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. จากประวัติศาสตร์ ชาวจีนอพยพมาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและมีจำนวนมากขึ้น ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนเพื่อสอนบุตรหลานของตนเป็นภาษาจีนและสอนเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศจีนทั้งหมด ใช้หลักสูตร แบบเรียน และครูผู้สอนที่มาจากประเทศจีน ดำเนินการสอนเรื่อยมาจนกระทั่งเกิดปัญหาในช่วงปลายรัชการที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเกิดการปฎิวัติขึ้นในประเทศจีนเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐ โรงเรียนจีนในเมืองไทยกลายเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดลัทธิการเมืองและแนวคิดในการปฏิวัติ ชาวจีนจำนวนมากได้ก่อความไม่สงบขึ้นเพื่อขอสนับสนุนให้ช่วยเหลือคณะปฏิวัติ กระทบถึงการเมือง และความมั่นคงของประเทศไทยอย่างมาก เพราะลัทธิการปกครองแตกต่างกัน ผู้บริหารประเทศไทยตั้งแต่รัชการลที่ 6 เป็นต้นมา ได้ดำเนินการแก้ไขและป้องกันปัญหาอันเกิดจากการเมืองเรื่องนี้ด้วยการออกพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ กำหนดจำนวนโรงเรียนจีนและครูชาวจีนให้อยู่ในจำนวนที่พอเหมาะกับการควบคุมดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ ปรับหลักสูตรให้เรียนเป็นภาษาไทยตามระเบียบและเรียนภาษาจีนได้ไม่เกินสัปดาห์ละ 5 ชั่วโมงเป็นวิชาเลือก เปิดสอนได้เพียงระดับประถมศึกษาเท่านั้น ทำให้โรงเรียนจีนหลายแห่งปิดกิจการไปและความนิยมจากชาวจีนรุ่นใหม่ลดน้อยลงไปตามลำดับ 2. จากสภาพการณ์ปัจจุบัน ชาวไทยกับชาวจีนมีการผสมผสานกันทางวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตจนแทบไม่มีความแตกต่างและไม่นำไปสู่ความขัดแย้งเหมือนในอดีต ชาวจีนหรือชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดชลบุรียังมีอยู่เป็นจำนวนมาก มีโรงเรียนจีนที่เปิดทำการสอนอยู่ 5 แห่ง สอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งปัจจุบันอนุญาตให้สอนภาษาจีนเป็นวิชาเลือกในกลุ่มประสบการณ์พิเศษ สอนได้สัปดาห์ละ 10 ชั่วโมง รัฐบาลผ่อนคลายกฎระเบียบหลายประการเพื่อสนับสนุนให้เอกชนลงทุนด้านการศึกษา โรงเรียนตัวอย่างที่ไปศึกษาได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับอนุนาบได้ สอนพร้อมกัน 3 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาจีน และภาษาอังกฤษ จ้างครูเจ้าของภาษาเป็นผู้สอนโดยตรง แนวทางพัฒนาโรงเรียนของผู้บริหารคือจะขยายการสอนเปิดถึงชั้นมัธยมศึกษา จะจัดตั้งเป็นศูนย์ภาษาต่างประเทศเปิดสอนบุคคลทั่วไปนอกเวลาทำการ ปรับปรุงสถานศึกษาเพื่อให้มีมาตรฐานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และเข้าสู่การประเมินคุณภาพสถานศึกษา จัดสวัสดิการเพิ่มเติมให้แก่ครูนอกเหนือจากที่รัฐกำหนด ส่งเสริมให้ครูไปอบรมสมนา ศึกษาต่อเพิ่มพูนคุณวุฒิและพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้เป็นโรงเรียนพหุภาษา 3. จากทรรศนะของผู้เชี่ยวชาญให้แนวทางการพัฒนโรงเรียนว่า ภาษาจีนมีความสำคัญใช้กันมากในวงการธุรกิจ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ไทยกับจีนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันแล้วและจีนมีนโยบายเปิดประเทศมากขี้น โอกาสทางการค้า การลงทุนและการศึกษาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับไทยจะมีมากขึ้นด้วย ผู้รู้ภาษาจีนจะได้เปรียบด้านการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพในอนาคต โรงเรียนจีนควรพัฒนาการสอนภาษาให้ผู้เรียนได้ทักษะการพูด การฟัง อย่างเป็นธรรมชาติ มีโอกาสฝึกภาษาและใช้ภาษาจริงกับเจ้าของภาษา เพิ่มเติมประสบการณ์ให้ผู้เรียนและผู้สอนด้วยการไปดูงานหรือทัศนศึกษาที่ประเทศจีน รวมทั้งเพิ่มการผลิตครูคนไทยที่สอนภาษาจีนได้ให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการถ่ายทอดลัทธิการเมืองอย่างที่เราเคยมีมาและร่วมมือกับจีนเพื่อทำวิจัยค้นคว้าความรู้ใหม่แขนงต่าง ๆ ของไทยและจีนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/81 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2543_003.pdf | 6.02 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น