กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8089
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์บำบัดฟื้นฟูการรู้คิดเสริมแรงจูงใจต่อเนื่องสำหรับเพิ่มความสามารถด้านการรู้คิดของผู้ป่วยจิตเภท
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of computerized sustined-motivtion focused cognitive remedition therpy progrm for enhncing cognitive bility of ptients with schizophreni
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พีร วงศ์อุปราช
เสรี ชัดแช้ม
พุฒิชาดา จันทะคุณ
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: โรคจิตเภท
กิจกรรมบำบัด
ผู้ป่วยจิตเภท
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
จิตเภท
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์บำบัดฟื้นฟูการรู้คิดเสริมแรงจูงใจต่อเนื่องสำหรับเพิ่มความสามารถด้านการรู้คิดของผู้ป่วยจิตเภท สร้างกิจกรรมทดสอบความใส่ใจต่อเนื่องด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ศึกษาผลการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์บำบัดฟื้นฟูการรู้คิดเสริมแรงจูงใจต่อเนื่อง (CSCRT) กับโปรแกรมจิตบำบัดประคับประคอง (SPT) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจิตเภท จำนวน 80 คน ที่มารับบริการงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวชแห่งหนึ่งในปี พ.ศ. 2561 ใช้แบบแผนการทดลอง 2 x 2 Factorial Pretest and Multiple-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้วัดความสามารถด้านการรู้คิด ประกอบด้วย กิจกรรมทดสอบความใส่ใจต่อเนื่อง กิจกรรมทดสอบความจำขณะทำงาน และกิจกรรมทดสอบความสามารถในการตัดสินใจ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) โปรแกรม CSCRT ประกอบด้วยกิจกรรม 6 ครั้ง แต่ละครั้งแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ฝึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การตรวจสอบสิ่งที่ได้รับ และการเชื่อมโยง มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.86) 2) กิจกรรมทดสอบความใส่ใจต่อเนื่องนำเสนอสิ่งเร้าตัวอักษรไทย จำนวน 170 ครั้ง ใช้เวลา 8 นาที มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมากที่สุด (Mean=5.00) 3) กลุ่มที่ใช้โปรแกรม SCCRT ด้านความใส่ใจต่อเนื่อง หลังการทดลองและระยะติดตามมีความถูกต้องมากกว่า เวลาน้อยกว่า ก่อนการทดลอง (p<.05) และกลุ่มที่ใช้โปรแกรม SPT (p<.05) ด้านความจำขณะทำงาน หลังการทดลองและระยะติดตามมีความถูกต้องมากกว่า เวลาน้อยกว่าก่อนการทดลอง (p<.05) และกลุ่มที่ใช้โปรแกรม SPT (p<.05) และด้านความสามารถในการตัดสินใจหลังการทดลองและระยะติดตามมีความถูกต้องมากกว่า เวลาน้อยกว่า ก่อนการทดลอง (p<.05) และกลุ่มที่ใช้โปรแกรม SPT (p<.05) สรุปได้ว่า โปรแกรม CSCRT ที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มความสามารถด้านการรู้คิดในผู้ป่วยจิตเภทได้
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8089
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf21.84 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น