กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8086
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorพูลพงศ์ สุขสว่าง
dc.contributor.authorวุฒิพงษ์ ประทุมมา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned2023-05-12T06:54:27Z
dc.date.available2023-05-12T06:54:27Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8086
dc.descriptionวิทยานิพนธ์(วท.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างกิจกรรมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ตาม Model-Eliciting Activities 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ก่อนกับหลังการทดลองในกลุ่มที่ได้รับการฝึกด้วยกิจกรรมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ตาม Model-Eliciting Activities และ 3) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์หลังการทดลองระหว่างกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี และโรงเรียนชลราษฎรอำรุง จำนวน 72 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ กิจกรรมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ แบบวัดระดับเชาว์ปัญญา แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) กิจกรรมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ตาม Model-Eliciting Activities มี 6 ขั้นตอน คือ 1. Model-construction principle 2. Reality principle 3. Self-assessment principle 4. Model-documentation principle 5. Shared-ability and Reusability principle และ 6. Effective prototype principle 2) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการฝึกด้วยกิจกรรมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ตาม Model-Eliciting Activities มีความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนได้รับการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการฝึกด้วยกิจกรรมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ตาม Model-Eliciting Activities มีความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการฝึกด้วยกิจกรรมอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subjectความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์
dc.subjectความคิดสร้างสรรค์
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.titleการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ตาม Model-eliciting activities สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์
dc.title.alternativeDevelopment of mthemticl cretivity bsed on modeleliciting ctivities for gifted upper secondry students in science nd mthemtics
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to: 1) create activities to develop mathematical creativity based on Model-Eliciting Activities, 2) compare the mathematical creativity score of students before and after an experiment, and 3) compare the mathematical creativity score between groups. The samples were 72 students from Princess Chulabhon science high school Chonburi and Chonradsadornumrung school Chonburi, divided into three groups of 24 students. The research instruments were mathematical creativity activity, Intelligence tests, Torrance tests of creative thinking, and mathematical creativity tests. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test and one way ANOVA. The results revealed that: 1) mathematical creativity activities based on Model-Eliciting Activities consisted of six steps including: 1. Model-construction principle 2. Reality principle 3. Self-assessment principle 4. Model-documentation principle 5. Shared-ability and Reusability principle and 6. Effective prototype principle. 2) The mathematical creativity score of the experimental group after learning was higher than that observed before the experiment at a .05 level of significance, and 3) The student group receiving the mathematical creativity activity based on Model-Eliciting Activities had a higher mathematical creativity score than the students who received conventional activities at a .05 level of significance.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น