กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8077
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorภาณุวัฒน์ ด่านกลาง
dc.contributor.authorภิญญดา นาคศรีคร้าม
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:54:25Z
dc.date.available2023-05-12T06:54:25Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8077
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractเนื่องจากระบบระบุตําแหน่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน คือระบบระบุตําแหน่งบนพื้นโลก (Global positioning system) โดยใช้สัญญาณจากดาวเทียมซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่สามารถทะลุผ่านกำแพงได้ จึงไม่สามารถนํามาใช้ระบุตําแหน่งภายในอาคารได้ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษา การระบุตําแหน่งภายในอาคาร ซึ่งจะมีความท้าทายทางด้านสภาพแวดล้อมที่เป็นแบบ Non-line-ofsight (NLOS) ผู้วิจัยจึงเลือกใช้ความแรงของสัญญาณ Wi-Fi และบลูทูธในการระบุตําแหน่ง เนื่องจากทั้งสองเทคโนโลยีสามารถใช้งานในสภาพแวดล้อมที่เป็นแบบ NLOS ได้มีราคาไม่แพง และส่วนใหญ่ใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในอาคารด้วยจึงทําให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการติดตั้งอุปกรณ์ แต่เนื่องจากการใช้ความแรงสัญญาณมาประมาณตําแหน่งโดยตรง มีความคลาดเคลื่อนอยู่มาก ผู้วิจัยจึงใช้ความแรงสัญญาณร่วมกับเทคนิคฟิงเกอร์ปริ๊นท์แบบลดเวลาในการเก็บข้อมูลในส่วนขั้นตอนออฟไลน์ในกระบวนการระบุตําแหน่งวัตถุภายในอาคารโดยใช้ค่าความแรงสัญญาณร่วมกับเทคนิคฟิงเกอร์ปริ้นท์นั้น มีอยู่สองส่วนหลัก ส่วนแรกคือ ส่วนออฟไลน์ทําหน้าที่สร้างแผนที่ฟิงเกอร์ปริ๊นท์ซึ่งภายในจะประกอบไปด้วยพื้นที่ย่อยที่ได้จากตําแหน่งการจัดวาง Access points (APs) และแต่ละพื้นที่ย่อยจะมีเซ็นทรอยด์เพื่อใช้ในการประมาณตําแหน่งต่อไป ส่วนที่สองเป็นส่วนออนไลน์ทําหน้าที่จับคู่ความแรงสัญญาณที่วัดได้กับตําแหน่งในแผนที่ฟิงเกอร์ปริ๊นท์ แล้วประมาณตําแหน่งโดยใช้ตําแหน่งเซ็นทรอยด์ของพื้นที่ย่อยในฟิงเกอร์ปริ๊นท์ จากการทดลอง พบว่า ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการระบุตําแหน่งโดยใช้เซ็นทรอยด์ของพื้นที่ย่อยนั้น สามารถลดความคลาดเคลื่อนได้โดยการเลือกตําแหน่งของเซ็นทรอยด์ที่เหมาะสม และการเพิ่มจํานวนของเซ็นทรอยด์ซึ่งเมื่อมีเซ็นทรอยด์จํานวนมากขึ้น จะทําให้มีโอกาสในการประมาณตําแหน่งได้ใกล้เคียงกับตําแหน่งจริงมากขึ้น ซึ่งผู้วิจัยได้ทําการทดลองใช้ความแรงของสัญญาณบลูทูธเข้ามาช่วยในการตัดสินใจเลือกเซ็นทรอยด์ และได้ทําการทดลองใช้วิธีการถ่วงนํ้าหนักระหว่างสองเซ็นทรอยด์ที่มีความแรงใกล้เคียงก่อนมากที่สุด วิธีที่ดีที่สุด คือ วิธีการถ่วงนํ้าหนักเซ็นทรอยด์ทําให้ค่าความคลาดเคลื่อนลดลง 21.92%
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
dc.subjectสัญญาทางวิศวกรรม
dc.subjectเทคโนโลยีบลูทูธ
dc.subjectระบบสื่อสารไร้สาย
dc.titleการระบุตำแหน่งภายในอาคารจากจุดเซ็นทรอยด์ที่ถ่วงน้ำหนักบนแผนที่ฟิงเกอร์ปริ๊นท์
dc.title.alternativeIndoor locliztion bsed on weighted centroid of fingerprint mp
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe most popular localization system in use today is the Global Positioning System (GPS). It uses signal from satellites which cannot penetrate through walls and thus cannot be used for indoor positioning. Since the indoor environment is described as Non-line-of-sight (NLOS), we decide to use the received signal strength (RSS) from Wi-Fi and Bluetooth for indoor localization. Both technologies are suitable for NLOS, inexpensive, and already employed for indoor communication. This saves cost and time for installation. However, the direct use of RSS value for position estimation can lead to large estimation error. We therefore apply the fingerprint technique which is modified to reduce the data collection time. The indoor localization using RSS with fingerprint technique consists of offline and online parts. The former constructs a fingerprint map which is divided into subareas according to the position of the access points (APs). The centroid of each subarea will be calculated. In the online part, the measured RSS will be mapped to a subarea and the position will be estimated as the centroid of that area. From experiment, we find that the localization error can be reduced by choosing better centroids and increasing the number of centroids. The increase of the number of centroids naturally improves the precision. In particular, the cooperative use of Wi-Fi and Bluetooth, as well as the weighted averaging of centroids with similar RSS are applied in the experiment. The weighted averaging leads to the best result which reduces the estimation error by 21.92%.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิศวกรรมไฟฟ้า
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น