กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8072
ชื่อเรื่อง: การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็นโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดแบบคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับกระบวนการสอนการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A clssroom ction reserch on dt nlysis nd probbility using constructivism teching models with problem-solving teching methods for lower secondry school students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมคิด อินเทพ
จุฑาพร เนียมวงษ์
วิศวัฒน์ ลี้มงคล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
การเรียนการสอน (มัธยมศึกษา)
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ สาระการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดแบบคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับกระบวนการการสอนการแก้ปัญหา งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Action research) มีทั้งหมด 3 วงจรได้แก่ 1. ความรู้พื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 2. ความน่าจะเป็น และ 3. การวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งแต่ละวงจรประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1. การวางแผน (plan) 2. การปฏิบัติตามแผน (act) 3. การสังเกต (observe) และ 4. การสะท้อนผล (reflect) โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่สมัครใจเรียนในคาบชุมชน ในภาคเรียนที่ 1 และ 2 ปีการศึกษษ 2561 โรงเรียนชลบุรี “สุขบท” อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จำนวน 33 คน เก็บข้อมูลโดยใช้ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดแบบคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับกระบวนการสอนการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1/E2) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E.I.) และการหาประสิทธิผล วิเคราะห์ตีความและสรุปแล้วนำเสนอโดยการพรรณนาความ ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการสอนตามแนวคิดแบบคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับกระบวนการสอนการแก้ปัญหา สาระการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (E1/E2) 70/70 ในวงจรที่ 1 มีค่าเป็น 70.51/69.70 ในขณะที่วงจรที่ 2 และ 3 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 70/70 โดยมีค่า E1/E2 คือ 83.60/79.29 และ 80.88/81.57 ตามลำดับ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดแบบคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา สาระการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น มีค่าดัชนีประสิทธิผลรายกลุ่มเท่ากับ 0.69 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ 0.5 3. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดแบบคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับกระบวนการสอนการแก้ปัญหาสาระการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น มีค่าดัชนีประสิทธิผลรายกลุ่มของวงจรที่ 1-3 เท่ากับ 0.69, 0.76 และ 0.79 ตามลำดับซึ่งมากกว่าเกณฑ์ 0.5 4. เจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสาตร์โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับกระบวนการสอนการแก้ปัญหา สาระการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป้น มีคะแนนเฉลี่ยในวงจรที่ 1-3 คือ 2.77, 3.01 และ 3.16 คะแนน ตามลำดับซึ่งสูงกว่า 2.50 คะแนน และอยู่ในระดับค่อนข้างมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8072
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf48.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น