กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8024
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปิยะทิพย์ ประดุจพรม | |
dc.contributor.advisor | สุชาดา กรเพชรปาณี | |
dc.contributor.author | สุเทพ แปลงทับ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T06:43:39Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T06:43:39Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8024 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การปฏิรูปการเรียนรู้ให้บรรลุผลสำเร็จได้นั้น ต้องเริ่มต้นที่การปฏิรูปชั้นเรียน ครูผู้สอนต้องเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนแบบดั้งเดิมไปเป็นแบบใหม่ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) วิเคราะห์เปรียบเทียบวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนแบบดั้งเดิมกับวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนแบบใหม่ใน 5 ประเด็น คือ (1) เจตคติและพฤติกรรมของครู (2) เจตคติและพฤติกรรมของนักเรียน (3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน (4) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน และ (5) บรรยากาศในชั้นเรียน 2) สังเคราะห์กระบวนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนตามแนวการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน และ 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะแก้วจังหวัดสุรินทร์ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และปีที่ 4เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ วีดิทัศน์ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน ชี้ให้เห็นว่าวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนแบบดั้งเดิม 1) ครูเน้นการถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียน 2) นักเรียนท่องจำความรู้ 3) นักเรียนไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ไม่กล้าถามครู 4) นักเรียนไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน และ 5) ชั้นเรียนมีแต่ความเครียดส่วนวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนแบบใหม่ 1) ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ 2) นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ 3) นักเรียนกล้าซักถามครู 4) มีการเรียนรู้ร่วมกันในการเรียน และ 5)ชั้นเรียนมีความอบอุ่น นักเรียนมีความสุขในการเรียน 2. ผลการสังเคราะห์กระบวนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน พบว่ามี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สร้างแรงบันดาลใจผู้บริหาร 2) ปรับเปลี่ยนเจตคติของครูและนักเรียนต่อการเรียนรู้ 3) ใช้กระบวนการเรียนรู้ที่บูรณาการกับการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน 4) กำกับ ติดตาม และชี้แนะ 5) จัดกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 6) ถอดบทเรียน โดยมีภาวะผู้นำของผู้บริหารเป็นตัวขับเคลื่อน 3. ผลของการใช้กระบวนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน พบว่ากระบวนการ 6 ขั้นตอน สามารถนำไปใช้ได้จริง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีผลการเรียนรู้ในระดับดีคิดเป็นร้อยละ 81.37 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 85.11 พฤติกรรมการสอนของครูเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยบอกความรู้มาเป็นผู้ออกแบบการจัดกิจกรรมและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้มีการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้เกณฑ์ความสำเร็จให้ข้อมูลป้อนกลับกับนักเรียน ทำให้นักเรียนสามารถปรับปรุงผลงานได้อย่างมีคุณภาพ ส่วนพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลง นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยกระบวนการกลุ่ม มีความกระตือรือร้นในการเรียนได้ประเมินผลงานตนเอง และประเมินผลงานเพื่อนโดยอาศัยเกณฑ์มีการปรับปรุงผลงานอยู่ตลอดเวลากล้าซักถามครูและเพื่อนมากขึ้นได้ช่วยเหลือเพื่อนในการเรียน นักเรียนเก่งมีความภาคภูมิใจที่ได้อธิบายให้เพื่อนที่เรียนอ่อนฟังจนเข้าใจ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การเรียนรู้ | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.title | กระบวนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนตามแนวการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน | |
dc.title.alternative | A chnge process for clssroom lerning culture bsed on the implementtion of formtive ssessment | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | In order to achieve the educational reform, it is necessary to start inthe classroom where teachers have to change the traditional classroom culture into the new one. The objectives of this research were to (1) compare the traditional classroom learning culture and the new classroom learning culture in five aspects: (a) the attitude and behavior of teachers, (b) the attitude and behavior of students, (c) the interaction between teachers and students, (d) interaction between students and students, and (e), the classroom environment; (2) synthesize the process of changein the learning culture in the classroom by implementing formative assessment; and (3), study the effects of applying the process of change in the learning culture in the classroom by implementing the formative assessment of student outcomes. The target group consisted of teachers, and Grade 2 and Grade 4 students of Ban Ko Kao School, Surin Province, from the 1st semester of academic year 2016. Video recordings and interview forms were used to collect data. Qualitative data were analyzed by content analysis; quantitative data were analyzed by computing means, standard deviations, and percentages. The results revealed that 1. The comparative analysis of learning culture in the classroom indicated that the traditional classroom culture possessed the following characteristics: (a) teachers emphasized a transfer of knowledge to students; (b) students learned new knowledge by rehearsal; (c) students did not participate in classroom learning; (d) students did not help their classmates; and (e), the classroom environment was stressful. The new classroom learning culture presented the following characteristics: (a) teachers were facilitators; (b) students acquired new knowledge by doing; (c) students dared to show ideas or ask teachers; (d) students helped their classmates; and (e), students were happy to learn. 2. The synthesis of the process of changing classroom learning culture showed that there were six steps: (a) establishing inspiration among directors; (b) changing the attitude of teachers and in student learning; (c) applying the learning process integrated with formative assessment; (d) coaching and monitoring; (e) organizing the professional learning community; and (f) taking the lessons studiously.The school administrators' leadership as the driver. 3. The result of using the process of learning culture change in the classroom found that the 6-step process can be practical, students in Grade 2 and Grade 4 had good learning outcomes of 81.37% and 85.11%. The teachers' teaching behaviors have changed from the previous knowledge to be a designer of activities and facilitating learning, set the learning goal and success criteria, provided feedback to students making it possible to improve the quality of the work, while the students' learning behaviors have changed, namely, performing activities with group processes with enthusiasm for learning evaluated self-performance and evaluated friends' performance based on criteria. The works are updated all the time. The students dare to ask more teachers, friends and help friends in learning. The smart students are proud to explain to friends who are, not good at learn or weak to understand. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 6.66 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น