กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8016
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พีร วงศ์อุปราช | |
dc.contributor.advisor | สุชาดา กรเพชรปาณี | |
dc.contributor.author | ศราวุธ ราชมณี | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T06:43:38Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T06:43:38Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8016 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การประเมินภาวะซึมเศร้าที่ผ่านมามีข้อจำกัดทั้งในประเด็นเรื่องความไม่สอดคล้องกับทฤษฎีหลักในทุกมิติ และขาดความสามารถในการประเมินกระบวนการทางปัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะซึมเศร้าอย่างเฉพาะเจาะจง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเมินภาวะซึมเศร้าแบบพหุกิจกรรม (Multitask) ร่วมกับการวัดคลื่นไฟฟ้าสมองสำหรับวัยรุ่นไทย เพื่อพัฒนาแบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค (BDI-II) ฉบับภาษาไทย และเปรียบเทียบคลื่นไฟฟ้าสมองขณะทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเมินภาวะซึมเศร้าแบบพหุกิจกรรมของวัยรุ่นผู้มีภาวะซึมเศร้า 3 ระดับ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครวัยรุ่นผู้มีภาวะซึมเศร้าคัดกรองจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี อายุ 13-22 ปี จำนวน 88 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค (BDI-II) ฉบับภาษาไทย และเครื่องบันทึกเครื่องไฟฟ้าสมอง Neuroscan วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ANOVA สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์เครือข่ายคลื่นไฟฟ้าสมอง ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเมินภาวะซึมเศร้าแบบพหุกิจกรรม ประกอบด้วย 4 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 MUTE1 (F) ตอนที่ 2 MUTR2 (F) ตอนที่ 3 MUTE3 (W) และตอนที่ 4 MUTR4 (W). โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้รับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญและมีความเหมาะสมสำหรับการใช้งาน 2. แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค (BDI-II) ฉบับภาษาไทยที่พัฒนาขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .82 3. ค่าเฉลี่ยความสูงและความกว้างของศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ P100 N200 และP300 ปรากฏว่า บริเวณสมองส่วนหน้า ส่วนกลาง และสมองส่วนท้ายทอย ณ ตำแหน่ง F3 P3 P4 C3 C4 และ O1 ของกลุ่มภาวะซึมเศร้าแต่ละระดับแตกต่างกัน 4. เครือข่ายการทำงานของสมองของกลุ่มแตกต่างกัน โดยกลุ่มภาวะซึมเศร้าระดับน้อยที่สุด มีพลังงานคลื่นไฟฟ้าสมองระดับมากที่สุดกระจายไปทั่วทุกบริเวณ กลุ่มซึมเศร้าน้อยมีพลังงานคลื่นไฟฟ้าสมองระดับมากที่สุดบริเวณท้ายทอย ส่วนกลุ่มภาวะซึมเศร้าปานกลางมีพลังงานคลื่นไฟฟ้าสมองระดับมากที่สุดบริเวณสมองส่วนหน้า | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ความซึมเศร้าในวัยรุ่น | |
dc.subject | ความซึมเศร้า | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.title | การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเมินภาวะซึมเศร้าแบบพหุกิจกรรมกับการวัดคลื่นไฟฟ้าสมองสำหรับวัยรุ่นไทย | |
dc.title.alternative | Development of multitsk computer progrm for ssessing depression with electroencephlogrm mesurements in thi dolescents | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The assessment of depression has possessed limitations in terms of theory incompatibility and ignoring specific assessments of depression-related cognitive processes. The objectives of the research were to develop a multitask computer program for assessing depression in Thai adolescents using electroencephalogram (EEG) measurements, to develop a Thai version of the Beck Depression Inventory-Second Edition (BDI-II), and to compare the brain waves observed while working on the computer program into 3 depression levels. The participants were 88 volunteers from Ang Sila Health Promotion District Hospital, Meuang District, Chon Buri, aged between 13-22 years old. The research instruments were Thai version of BDI-II and Neuroscan Systems. Data were analyzed by mean of ANOVA, Pearson’s Correlation Coefficient and brain network coherence analysis. The results were as follows: 1. The multitask computer program for assessing depression was divided into four: MUTE1 (F), MUTR2 (F), MUTE3 (W) and MUTR4 (W). The computerized tasks were assessed by experts and judged suitable for use. 2. The Thai version of BDI-II was found to have an alpha reliability of 0.82 3. The mean amplitudes and latencies of P100, N200, and P300 ERPs were found to be significantly different at Frontal lobes and Occipital lobes at all electrode sites: F3, P3, P4, C3, C4, and O1. 4. The difference of brain network has been found in three groups, the brain wave of minimal depression group distributed all regions, the brain wave of mild depression group and moderate depression group distributed mostly at occipital lobe and frontal lobe respectively. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 6.21 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น