กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8009
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorปิยะทิพย์ ประดุจพรม
dc.contributor.advisorเสรี ชัดแช้ม
dc.contributor.authorธีร์นวัช สุขวิลัยหิรัญ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned2023-05-12T06:43:37Z
dc.date.available2023-05-12T06:43:37Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8009
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการควบคุมการใช้ข้อสอบร่วมกับการควบคุมสมดุลเนื้อหา เป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปและเลือกใช้ข้อสอบครอบคลุมเนื้อหาทุกด้าน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาวิธีการควบคุมการใช้ข้อสอบร่วมกับการควบคุมสมดุลเนื้อหาโดยใช้วิธีโหลดบาลานซ์ซิ่ง(LB) 2) พัฒนาโปรแกรมการทดสอบปรับเหมาะแบบพหุมิติด้วยคอมพิวเตอร์โดยวิธีการควบคุมการใช้ข้อสอบร่วมกับการควบคุมสมดุลเนื้อหา สำหรับทดสอบความรู้ทางไอซีที (ICT-MCAT) มี 2 วิธี คือ2.1) วิธีโหลดบาลานซ์ซิ่ง (LB) และ 2.2) วิธี Item Eligibility (IE) ในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น 3) เปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการควบคุมการใช้ข้อสอบร่วมกับการควบคุมสมดุลเนื้อหา 2 วิธี ในด้าน 3.1) จำนวนข้อสอบที่ใช้ในการทดสอบ 3.2) เวลาที่ใช้ในการทดสอบ 3.3) อัตราการแสดงการใช้ข้อสอบสูงสุด และ 3.4) ค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีการศึกษา 2561 จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยการทดสอบแมน-วิทนีย์ และการทดสอบค่าที และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความสามารถของผู้ทดสอบที่ได้จากการทดสอบปรับเหมาะแบบพหุมิติด้วยคอมพิวเตอร์ (MCAT) กับคะแนนรวมของผู้ทดสอบที่ได้จากการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (CT) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน ทดสอบสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฎว่า 1) วิธีการควบคุมการใช้ข้อสอบร่วมกับการควบคุมสมดุลเนื้อหาโดยใช้วิธีโหลดบาลานซ์ซิ่ง (LB) มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ การสำรวจและเคลื่อนย้ายข้อมูลการคำนวณภาระงาน และการควบคุมการทำงาน 2) โปรแกรม ICT-MCAT มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด 3) วิธี LB มีประสิทธิภาพสูงกว่า วิธี IE ในด้านจำนวนข้อสอบที่ใช้ในการทดสอบ เวลาที่ใช้ในการทดสอบและอัตราการแสดงการใช้ข้อสอบสูงสุด และ 4) ค่าความสามารถของผู้ทดสอบจาก MCAT กับคะแนนรวมของผู้ทดสอบจาก CT มีความสัมพันธ์กันในทางบวกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectแบบทดสอบ -- การวัดผล -- คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subjectแบบทดสอบ
dc.titleการพัฒนาวิธีการควบคุมการใช้ข้อสอบร่วมกับการควบคุมสมดุลเนื้อหาโดยใช้วิธีโหลดบาลานซ์ซิ่งสำหรับทดสอบความรู้ทางไอซีที : การทดสอบปรับเหมาะแบบพหุมิติด้วยคอมพิวเตอร์
dc.title.alternativeDevelopment of the item exposure control with content blnce procedure using lod blncing for ict litercy: multidimensionl computerized dptive testing
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe item exposure control employing the content balancing procedure is a method for increasing the efficiency of test item selection, useful for covering all content areas. This research aimed 1) to develop an item exposure control using load balancing; 2) to develop a Multidimensional Computerized Adaptive Testing program (ICT-MACT) using item exposure controls, with the content balancing procedure for ICT literacy by applying 2.1) Load Balancing (LB) and Item Eligibility (IE) in the form of web applications; 3) to compare the efficiency between LB and IE methods in 3.1) test length, 3.2) test time, 3.3) Maximum Item Exposure Rate (MIER), and 3.4) Root Mean Square Error (RMSE). A sample of 400 vocational college students at the Diploma level in the academic year 2018 was systematically randomized. The Mann-Whitney test and t-test were used to analyze the data; and 4) to study the correlation of the ability estimation of the examinees via the Multidimensional Computerized Adaptive Testing (MCAT) and the observed score via the Computerized Testing (CT) with a sample of 40 students, with Pearson’s product moment correlation used to analyze the data. The results showed that: 1) the item exposure control with the content balancing procedure using load balancing had 3 steps in Migration Agent (MA), Load Agent (LA), and Channel Agent (CA); 2) the ICT-MCAT program had the highest efficiency level; 3) the LB method was more effective than IE as measured by test length, test time, and MIER; and 4) the ability estimation of the examinees via the MCAT and the observed score via CT were positively correlated (p<.01).
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น