กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8006
ชื่อเรื่อง: | การเปรียบเทียบระดับสมาธิตามแนวพุทธศาสนาของพระภิกษุสงฆ์ไทยจำแนกตามระดับพรรษา : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A comprison of the level of buddhist medittion of thi monks clssified by yer of ordintion: n electroencephlogrm study |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์ สุชาดา กรเพชรปาณี พระสรณ์สิริ ปชฺชลิโต (โททอง) มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา สมาธิ -- การฝึก คลื่นไฟฟ้า |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะคลื่นไฟฟ้าสมองขณะนั่งสมาธิของพระภิกษุสงฆ์ไทยจำแนกตามระดับพรรษา เปรียบเทียบระยะเวลาการเข้าสู่สมาธิของพระภิกษุสงฆ์ที่ระดับพรรษาแตกต่างกัน และเปรียบเทียบความคงทนขณะอยู่ในสมาธิระหว่างพระภิกษุสงฆ์ที่ระดับพรรษาแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นพระภิกษุสงฆ์ไทย อาสาสมัครเข้าร่วมการทดลอง มีอายุระหว่าง 20-70 ปี จำนวน 60 รูป ประกอบด้วย พระภิกษุสงฆ์นวกะ 20 รูป พระภิกษุสงฆ์มัชฌิมะ 20 รูป และพระภิกษุสงฆ์เถระ 20 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองระบบ Neuroscan วิเคราะห์สัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมองด้วยโปรแกรม MATLAB และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยปรากฏว่า ลักษณะคลื่นไฟฟ้าสมองขณะนั่งสมาธิของพระภิกษุสงฆ์ไทย ในพระภิกษุสงฆ์นวกะ มีพลังงานอัลฟ่ามีค่าสูงสุด พระภิกษุสงฆ์มัชฌิมะ มีพลังงานเธต้ามีค่าสูงสุด และพระภิกษุสงฆ์เถระ มีพลังงานเดลต้ามีค่าสูงสุด ระยะเวลาในการเข้าสู่สมาธิ พระภิกษุสงฆ์นวกะ เข้าสู่สมาธิได้ในช่วงนาทีที่ 5 ของการนั่งสมาธิ ความคงทนขณะอยู่ในสมาธิ พระภิกษุสงฆ์นวกะ มีความคงทนขณะอยู่ในสมาธิได้เป็นบางช่วงเวลาของการนั่งสมาธิ 30 นาที พระภิกษุสงฆ์มัชฌิมะ และพระภิกษุสงฆ์เถระ เข้าสู่สมาธิตั้งแต่นาทีที่ 1 ของการนั่งสมาธิ พระภิกษุสงฆ์มัชฌิมะ และพระภิกษุสงฆ์เถระมีความคงทนขณะอยู่ในสมาธิได้ระยะเวลาตลอด 30 นาทีของการนั่งสมาธิ สรุปได้ว่า ระดับสมาธิของพระภิกษุสงฆ์ไทย จากข้อมูลเชิงประจักษ์ สอดคล้องตามแนวพระพุทธศาสนา และตามระดับของการฝึกปฏิบัติ โดยในขณะนั่งสมาธิพระภิกษุสงฆ์นวกะ มีพลังงานอัลฟ่ามีค่าสูงสุด เทียบได้กับสมาธิขั้นต้น (ขณิกสมาธิ) พระภิกษุสงฆ์มัชฌิมะ มีพลังงานเธต้ามีค่าสูงสุด เทียบได้กับสมาธิขั้นกลาง (อุปจารสมาธิ) และกลุ่มพระภิกษุสงฆ์เถระ มีพลังงานเดลต้ามีค่าสูงสุด เทียบได้กับสมาธิขั้นสูง (อัปปนาสมาธิ) |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8006 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.38 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น