กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8002
ชื่อเรื่อง: ผลของความแตกต่างทางเพศและบุคลิกภาพในผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีต่อรูปภาพและเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effect of gender nd personlity differences in young dults on the emotionl dominnce of pictures nd digitized sounds: behviorl nd eventrelted potentil study
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภัทราวดี มากมี
ศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์
เสรี ชัดแช้ม
ศศิธร บัวเรือง
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: อารมณ์
อารมณ์ในผู้สูงอายุ
คลื่นไฟฟ้า
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกิจกรรมการทดลองมองรูปภาพและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในผู้ใหญ่ตอนต้น ศึกษาอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในเชิงพฤติกรรม คลื่นไฟฟ้าสมอง และเครือข่ายการเชื่อมโยงการทำงานของสมอง ขณะมองรูปภาพและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล จำแนกตามเพศและบุคลิกภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กิจกรรมการทดลองมองรูปภาพและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในผู้ใหญ่ตอนต้น มาตรวัดอารมณ์ความรู้สึกด้านการมีอิทธิพล และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Two-way ANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. กิจกรรมการทดลองมองรูปภาพและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในผู้ใหญ่ตอนต้น ประกอบด้วย กิจกรรม 2 ชุด ชุดละ 12 สิ่งเร้า สิ่งเร้าละ 14.5 วินาที จำแนกตามลักษณะอารมณ์ คือลักษณะกลัว และลักษณะไม่กลัว 2. ผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีเพศต่างกัน มีอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล ลักษณะกลัว แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีบุคลิกภาพต่างกัน มีอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล ลักษณะกลัวและลักษณะไม่กลัวไม่แตกต่างกัน และไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับบุคลิกภาพ ขณะมองรูปภาพและ ฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล ลักษณะกลัว และลักษณะไม่กลัว 3. คลื่นไฟฟ้าสมองของผู้ใหญ่ตอนต้นขณะมองรูปภาพและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้าน การมีอิทธิพล ลักษณะกลัว และลักษณะไม่กลัว ระหว่างเพศชายกับเพศหญิงและระหว่างบุคลิกภาพเปิดเผยกับบุคลิกภาพกลาง ๆ ไม่แตกต่างกัน และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับบุคลิกภาพ ขณะมองรูปภาพและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล ลักษณะกลัว ที่บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า ที่ตำแหน่ง FP1 FPZ FP2 AF3 และ F7 และบริเวณเปลือกสมองกลาง ที่ตำแหน่ง FCZ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. เครือข่ายการเชื่อมโยงการทำงานของสมองของผู้ใหญ่ตอนต้นขณะมองรูปภาพและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล ลักษณะกลัวเพศชายมีความหนาแน่นของเครือข่ายมากกว่าเพศหญิงเพศหญิงมีการเชื่อมโยงระหว่างโหนดสั้นกว่าและมีประสิทธิภาพเครือข่ายดีกว่าเพศชาย ลักษณะไม่กลัว เพศหญิงมีความหนาแน่นของเครือข่ายมากกว่าเพศชายเพศชายมีการเชื่อมโยงระหว่างโหนดสั้นกว่าเพศหญิงและเพศหญิงมีประสิทธิภาพเครือข่ายดีกว่าเพศชาย
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8002
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf9.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น