กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7993
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ยุทธนา จันทะชิน | |
dc.contributor.advisor | สิริกรานต์ จันเปรมจิตต์ | |
dc.contributor.author | มะลิ จันทระ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T06:25:36Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T06:25:36Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7993 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | ความชราภาพมีความสัมพันธ์กับการเสื่อมถอยของความสามารถทางปัญญาและเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการมีภาวะความจำเสื่อม ดังนั้น การหาวิธีการป้องกันหรือชะลอการเสื่อมถอยของความสามารถทางปัญญาในผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฟังเพลงไทยเดิมที่แทรกสอดคลื่นเสียง Binaural Beats และผลของการฟังเพลงไทยเดิมที่ไม่ได้แทรกสอดคลื่นเสียง Binaural Beats ต่อความจำขณะคิดในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุของตำบลเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ในปี พ.ศ. 2561 จำนวน 54 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟังเพลงไทยเดิมที่แทรกสอดคลื่นเสียง Binaural Beats จำนวน 17 คน กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟังเพลงไทยเดิมที่ไม่ได้แทรกสอดคลื่นเสียง Binaural Beats จำนวน 18 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมการฟังเพลง จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมฟังเพลงไทยเดิมที่แทรกสอดคลื่นเสียง Binaural Beats โปรแกรมฟังเพลงไทยเดิมที่ไม่แทรกสอดคลื่นเสียง Binaural Beats และโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบทดสอบ Corsi Block Task วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยปรากฏว่า ระยะหลังการทดลอง กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟังเพลงไทยเดิมที่ไม่ได้แทรกสอดคลื่นเสียง Binaural Beats มีค่าเฉลี่ยคะแนนความถูกต้องจากการทำกิจกรรมทดสอบความจำขณะคิด เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะที่ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟังเพลงไทยเดิมที่แทรกสอดคลื่นเสียง Binaural Beats และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมการฟังเพลง มีค่าเฉลี่ยคะแนนความถูกต้องจากการทำกิจกรรมทดสอบความจำขณะคิด ระยะก่อนกับหลังการทดลอง ไม่แตกต่างกัน สรุปได้ว่า โปรแกรมฟังเพลงไทยเดิมที่ไม่แทรกสอดคลื่นเสียง Binaural Beats สามารถเพิ่มความจำขณะคิดในผู้สูงอายุได้ และโปรแกรมฟังเพลงไทยเดิมที่ไม่แทรกสอดคลื่นเสียง Binaural Beats อาจเป็นวิธีการหนึ่งที่จะสามารถช่วยป้องกันหรือชะลอการเสื่อมถอยของความจำในผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | เพลงไทย | |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- ความจำ | |
dc.subject | เพลงไทยเดิม | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.title | ผลของการฟังเพลงไทยเดิมที่แทรกสอดคลื่นเสียง Binaural beats ต่อความจำขณะคิดในผู้สูงอายุ | |
dc.title.alternative | The effect of listening to thi clssicl music with inserted binurl bets on the working memory of older dults | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Aging is associated with cognitive decline, and has been found to be a main risk factor in developing dementia. It is thus critical to identify effective approaches to prevent or delay a decline in cognitive abilities in older adults. The aim of this research was to investigate the effect of listening to Thai classical music with or without binaural beats on the working memory in older adults. The participants were fifty-four older adults from the senior citizens club, Khao Phoem subdistrict, Ban Na district, Nakhon Nayok province. They were divided into three groups: Thai classical music with inserted binaural beats group (n=17), Thai classical music without inserted binaural beats group (n=18), and a control group who received no listening material (n=19). The research instruments were Thai classical music which was inserted with or without binaural beats programs and the Corsi block task. t-test and one-way ANOVA were used to analyze the data. The results showed that after experiment, the group with Thai classical music without inserted binaural beats exhibited a significant increase in correct scores on working memory test when compared to their before-experiment condition (p<.01) whereas the group with inserted binaural beats and the control group did not show any change in correct scores on working memory test when compared to before-experiment condition. These findings suggest that the Thai classical music without inserted binaural beats program can enhance working memory in older adults and it may be an approach to effectively prevent or delay a decline in memory in older adults. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.83 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น