กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7986
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Enhncing mthemticl intelligence mong primry school students: behvirol nd eeg study |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พูลพงศ์ สุขสว่าง วิสุทธิ์ กล้าหาญ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
คำสำคัญ: | เชาวน์ -- การทดสอบ คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา เชาวน์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกิจกรรมพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์โดยอิงทฤษฎีแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และศึกษาผลการใช้กิจกรรมพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนวัดพลงช้างเผือก จังหวัดระยอง จำนวน 160 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กิจกรรมพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์ (Mathematic Intelligence Training: MIT) แบบวัดเชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์ และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง Emotiv รุ่น EPOC วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง (Two-way ANOVA) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) กิจกรรมพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย กิจกรรม MIT จำนวน 1 ชุด 14 ข้อ ใช้ระยะเวลาฝึกวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที ทำต่อเนื่อง 10 วัน 2) ระยะหลังการทดลอง กลุ่มที่ใช้กิจกรรม MIT มีเชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น เมื่อจำแนกตามเพศกับลักษณะเชาวน์ปัญญา ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับลักษณะเชาวน์ปัญญาเมื่อจำแนกตามตัวแปรที่ศึกษา ปรากฏว่า ไม่พบความแตกต่างระหว่างเพศ แต่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่มีลักษณะเชาวน์ปัญญาสูงและต่ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) คลื่นไฟฟ้าสมองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาหลังใช้กิจกรรม MIT มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับเชาวน์ปัญญา ที่ย่านความถี่โลเบต้า และย่านความถี่อัลฟา บริเวณสมองส่วนหน้า ณ ตำแหน่ง AF3, F7, F3, F4, F8 และ AF4 บริเวณสมองส่วนข้าง ณ ตำแหน่ง P7 และ P8 ในขณะที่ย่านความถี่ ธีต้า มีปฎิสัมพันธ์ ณ ตำแหน่ง AF3, F4 และ AF4 และในย่านความถี่ไฮเบต้า มีปฏิสัมพันธ์กัน ณ ตำแหน่ง AF4 |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7986 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 6.55 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น