กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7980
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเกณฑ์การประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of the criteri for ssessing cdemic ledership cpbility of eductionl supervisor
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
พูลพงศ์ สุขสว่าง
กรรณิการ์ ปานนุช
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
ผู้นำทางการศึกษา
การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเกณฑ์การประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการ ของศึกษานิเทศก์ด้วยเทคนิคเดลฟายแบบอิเล็กทรอนิกส์ 3 รอบและวัดฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญ 21 คน โดยใช้ทฤษฎีรัฟเซต จัดลำดับองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ 2) พัฒนาโปรแกรมแบบออนไลน์ด้วยระบบปฏิบัติการ OS:Linux, WEB: Apache, Script: PHP และ Database: MySQL และ 3) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการจัดอันดับของผลการประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการระหว่างศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษกับศึกษานิเทศก์ชำนาญการ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ยการจัดอันดับ,ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าทฤษฎีรัฟเซตและ ค่าCVI สถิติทดสอบ ได้แก่ Kruskal-Wallis test, t-test แบบ One Sample Test และ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. เกณฑ์การประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์มี 5 ด้าน (18 ตัวบ่งชี้) ได้แก่ 1) การบรรลุผลของการจัดการงานนิเทศการศึกษา มี 3 ตัวบ่งชี้ 2) โลกทัศน์สู่ความเป็นสากล มี 4 ตัวบ่งชี้ 3) การปฏิบัติงานนิเทศการศึกษาตามบทบาทหน้าที่เฉพาะ มี 5 ตัวบ่งชี้ 4) การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ มี 3 ตัวบ่งชี้ และ 5) คุณลักษณะส่วนตัวของศึกษานิเทศก์ มี 3 ตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประเมินฯ จำแนกความเป็นผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์เป็น 5 ระดับตั้งแต่ระดับที่ 1 (ต้องปรับปรุง) ถึงระดับที่ 5 (ดีเยี่ยม) 2. โปรแกรมประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์แบบออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพในการใช้งาน โดยมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (CVI) จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญเท่ากับ 1 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ค่าเฉลี่ยจากผลการประเมินของผู้ใช้งานโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด(ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60) และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 3. ผลการประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษสูงกว่าศึกษานิเทศก์ชำนาญการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปได้ว่า เกณฑ์การประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์มีความเหมาะสม ที่จะนำไปใช้ในการประเมินศึกษานิเทศก์
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7980
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น