กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7977
ชื่อเรื่อง: | ผลของความแตกต่างทางเพศและบุคลิกภาพในผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีต่อคำภาษาไทยและรูปภาพที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effect of gender nd personlity differences in young dults on the emotionl dominnce of thi words nd pictures: behviorl nd event-relted potentil study |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สิริกรานต์ จันทเปรมจิตต์ เสรี ชัดแช้ม ปรัชญา แก้วแก่น จุฑารัตน์ รุ่งจำรัส มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
คำสำคัญ: | อารมณ์ในผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา คลื่นไฟฟ้า |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกิจกรรมการทดลองมองคำภาษาไทยและรูปภาพที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในผู้ใหญ่ตอนต้น ศึกษาอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในเชิงพฤติกรรม คลื่นไฟฟ้าสมอง และเครือข่ายการเชื่อมโยงการทำงานของสมอง ขณะมองคำภาษาไทยและรูปภาพที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลจำแนกตามเพศและบุคลิกภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพาปีการศึกษา 2560 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยกิจกรรมการทดลองมองคำภาษาไทยและรูปภาพที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในผู้ใหญ่ตอนต้นมาตรวัดอารมณ์ความรู้สึกด้านการมีอิทธิพล และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Two-way ANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. กิจกรรมการทดลองมองคำภาษาไทยและรูปภาพที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในผู้ใหญ่ตอนต้น ประกอบด้วย กิจกรรม 2 ชุด ชุดละ 12 สิ่งเร้า จำแนกตามลักษณะอารมณ์ คือ ลักษณะกลัวและลักษณะไม่กลัว 2. ผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีเพศและบุคลิกภาพต่างกัน มีอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลลักษณะกลัว และลักษณะไม่กลัวไม่ต่างกัน และไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับบุคลิกภาพ ขณะมองคำภาษาไทยและรูปภาพ ที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลลักษณะกลัว และลักษณะไม่กลัว 3. คลื่นไฟฟ้าสมองของผู้ใหญ่ตอนต้นขณะมองคำภาษาไทยและรูปภาพที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลลักษณะกลัวและลักษณะไม่กลัวระหว่างเพศชายและเพศหญิงแตกต่างกัน ที่บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ที่ตำแหน่ง F4 F7 F8 บริเวณสมองส่วนกลาง (Central) ที่ตำแหน่ง FC5 FC6 CZ C4 บริเวณเปลือกสมองส่วนบน (Parietal Lobe) ที่ตำแหน่ง CP3 CPZ P3 บริเวณสมองกลีบขมับ (Temporal Lobe) ที่ตำแหน่ง T7 T8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างผู้มีบุคลิกภาพเปิดเผยกับบุคลิกภาพกลาง ๆ แตกต่างกัน ที่บริเวณสมองส่วนกลาง (Central) ที่ตำแหน่ง C3 บริเวณเปลือกสมองส่วนบน (Parietal Lobe) ที่ตำแหน่ง CP3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับบุคลิกภาพ บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ที่ตำแหน่ง F4 AF3 F8 บริเวณสมองส่วนกลาง (Central) ที่ตำแหน่ง FCZ บริเวณสมองกลีบขมับ (Temporal Lobe) ที่ตำแหน่ง T7 บริเวณสมองกลีบท้ายทอย (Occipital Lobe) ที่ตำแหน่ง O2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. เครือข่ายการเชื่อมโยงการทำงานของสมองในผู้ใหญ่ตอนต้นขณะมองคำภาษาไทยและรูปภาพ ที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล ลักษณะกลัว เพศชายมีความหนาแน่นน้อยกว่าเพศหญิง มีการเชื่อมโยงระหว่างโหนดสั้นกว่าเพศหญิง และประสิทธิภาพเครือข่ายน้อยกว่าเพศหญิง ลักษณะไม่กลัว เพศชายมีความหนาแน่นของเครือข่ายมากกว่าเพศหญิง มีการเชื่อมโยงระหว่างโหนดสั้นกว่าและมีประสิทธิภาพเครือข่ายน้อยกว่า เพศหญิง |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7977 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 8.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น