กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7975
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorภัทราวดี มากมี
dc.contributor.authorภวินท์ชาติ รัตนธรรม
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned2023-05-12T06:15:05Z
dc.date.available2023-05-12T06:15:05Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7975
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพฤติกรรมคิดก้าวหน้า และสังเคราะห์แนวทางส่งเสริมพฤติกรรมคิดก้าวหน้าของข้าราชการครูในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการครูในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สระแก้ว เขต 1 จำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ลักษณะคำตอบเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ใช้สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารการศึกษา จำนวน 12 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพฤติกรรมคิดก้าวหน้าของข้าราชการครูในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 พบว่า องค์ประกอบที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และพฤติกรรมคิดก้าวหน้าของข้าราชการครู ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ ด้านความริเริ่มส่วนบุคคล ด้านขอบเขตการรับรู้ความสามารถของตน ด้านความรับผิดชอบแก้ปัญหาด้วยตนเอง และด้านบุคลิกภาพเชิงรุก ตามลำดับ 2. แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมคิดก้าวหน้าของข้าราชการครูในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้วเขต 1 ควรดำเนินการ 3 วิธี คือ 1) ปรับเจตคติให้ข้าราชการครูคิดบวก 2) เปิดโอกาสให้ข้าราชการครูแสดงความคิดเห็นและความสามารถในการปรับปรุงวิธีการทำงาน และ 3) สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาพฤติกรรมคิดก้าวหน้า สรุปได้ว่า การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมคิดก้าวหน้าของข้าราชการครูในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 ควรให้ความสำคัญกับการปรับเจตคติให้พนักงานคิดบวกเป็นอันดับแรก
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectครู -- การพัฒนา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subjectHumanities and Social Sciences
dc.titleการพัฒนาแนวทางส่งเสริมพฤติกรรมคิดก้าวหน้าของข้าราชการครูในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 : การวิจัยแบบผสานวิธี
dc.title.alternativeThe development of guidelines to promote proctive behvior mong s-keo techers in public primry eduction, service re 1, using mixed-method reserch
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to use confirmatory factor analysis to analyse proactive teaching behaviors, and to synthesize the guiding principles for promoting proactive behaviors of government teachers in Sa-Kaeo Primary Educational Service Area 1 by using a mixed method research paradigm. For quantitative research, participants were derived by proportionate stratified random sampling, consisting of 400 government teachers. A five-level rating scale was employed as the research instrument; second-order confirmatory factor analysis was used to analyze the data. For the qualitative research, participants were derived by purposive sampling, comprising 12 experts in educational administration. The research instrument was a semi-structured interview form. Data were analyzed by content analysis. The results were as follows: 1) Confirmatory factor analysis results of proactive behaviors were found to be consistent with the empirical data, with behavior consisting of four components. Component loadings were, from highest to lowest: Personal Initiative, Role Breadth Self-Efficacy, Taking Charge, and Preemptive Personality. 2) The guidelines for promoting proactive behavior should be undertaken in three phases, that is, 1) adjusting attitudes of the government teachers to focus on positive thinking; 2) allowing government teachers to express their opinions and to improve their way of working; and 3) motivating teachers to develop proactive behavior. In conclusion, it is suggested that the development of guidelines to promote proactive behavior among Sa-Kaeo government teachers in Primary Educational Service Area 1 should primarily focus on encouraging teachers to employ positive thinking.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น