กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7968
ชื่อเรื่อง: การประเมินแคดเมียมและตะกั่วในน้ำทะเลด้วยหอยแมลงภู่เทียมบริเวณชายฝั่งอ่างศิลาจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Assessing temporl distribution of cdmium nd led using rtificil mussel in the costl wter of ngsil chonburi province, thilnd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภัทราวุธ ไทยพิชิตบูรพา
ปภาศิริ บาร์เนท
มุทิตา แซ่โง้ว
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: แคดเมียม -- การประเมินความเสี่ยง
หอยแมลงภู่
โลหะหนัก
Science and Technology
แคดเมียม
ตะกั่ว
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินการปนเปื้อนของ Cd และ Pb ในแหล่งน้ำทะเลพื้นที่ชายฝั่งอ่างศิลาจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ในด้านการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และด้านอุตสาหกรรมโดยเก็บตัวอย่างน้ำทะเลโดยตรงและทดลองการดูดซับของหอยแมลงภู่เทียม( Artificial Mussel )รวมทั้งค่าคุณภาพน้ำทะเลทุก ๆ 14วัน อย่างต่อเนื่องจนถึง 56 วันในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝน ผลการศึกษาพบว่าฤดูกาลมีผลต่อการตรวจพบโลหะหนัก Cd และ Pb ในน้ำทะเลโดยความเข้มข้นจะต่ำในช่วงเริ่มต้นฤดูแล้ง(มีนาคม) และจะสูงขึ้นในช่วงปลายฤดูแล้ง (เมษายน-พฤษภาคม) อย่างไรก็ตามความเข้มข้นของ Cd ในน้ำทะเลยังมีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพน้ำทะเลของประเทศไทยและอาเซียน (กำหนดที่ 5µg L-1 ) ในขณะที่ความเข้มข้นของ Pb ในน้ำทะเลบางตัวอย่าง พบว่ามีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน (กำหนดที่ 8.5µg L-1 ) แต่ยังต่ำกว่าค่ามาตรฐาน ระดับความเข้มข้นสูงสุดที่ยินยอมให้มีอยู่ในน้ำ โดยไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ (50µg L-1 ) ส่วนการปนเปื้อนของ Cd จากการดูดซับในหอยแมลงภู่เทียมสามารถตรวจพบได้ทั้งสองฤดูกาลในขณะที่ Pb ตรวจพบได้เฉพาะในฤดูฝน เมื่อวิเคราะห์ผลความสัมพันธ์การพบ Cd ระหว่างน้ำทะเลและหอยแมลงภู่เทียมในแต่ละช่วงระยะเวลา รวมกันทั้ง 2 ฤดูกาล พบว่า ความเข้มข้น Cd ระหว่างน้ำทะเล และจากการดูดซับของหอยแมลงภู่เทียมในช่วงระยะเวลาวันที่ 28 42 และ 56 วัน มีความสัมพันธ์กัน (r = 0.7) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) ในขณะที่ Pb ในทุกช่วงเวลาไม่มีความสัมพันธ์กันเลย เมื่อวิเคราะห์ค่าการนำไฟฟ้าและค่าความเค็ม พบว่าเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการพบ Cd และ Pb ในน้ำทะเล (P-value < 0.05) แต่ไม่มีผลเมื่อตรวจจากการดูดซับของหอยแมลงภู่เทียม ผลการศึกษาครั้งนี้จึงยืนยันว่าหอยแมลงภู่เทียมสามารถนำมาประยุกต์ใช้แทนสิ่งมีชีวิตในตรวจสอบ Cd ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมทางทะเลของประเทศไทยได้เหมาะสมและไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยของค่าการนำไฟฟ้าสูงและค่าความเค็มสูง และควรวางหอยแมลงภู่เทียมในน้ำทะเลช่วงระยะเวลา 30-40 วัน ในขณะที่การดูดซับ Pb ในหอยแมลงภู่เทียมยังควรมีการศึกษาความเหมาะสมต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7968
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น