กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7962
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภาคภูมิ พระประเสริฐ | |
dc.contributor.author | มณฑนี โพธิ์แสง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T06:15:01Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T06:15:01Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7962 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์(วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | ข้าวกล้องเป็นแหล่งของวิตามินบี 1 หรือไทอามีนที่ดีแหล่งหนึ่ง ดั้งนั้นจึงทำการศึกษาปริมาณไทอามีนรวมในข้าว 30 พันธุ์ เพื่อศึกษาความผันแปรของปริมาณไทอามีนในข้าว พบว่าไทอามีนรวมในพันธุ์ข้าวไทย 30 พันธุ์มีปริมาณแตกต่างกัน ซึ่งมีความผันแปรสูงถึง 0.303 mg/ 100 g โดยพันธุ์พิษณุโลก 2 มีไทอามีนรวมต่ำที่สุดและพันธุ์กข41 มีปริมาณไทอามีนรวมสูงที่สุด คือ 0.144 และ 0.447 mg/ 100 g ตามลำดับ เมื่อคัดเลือกข้าว 6 พันธุ์ที่มีปริมาณไทอามีนรวมสูง ปานกลางและต่ำอย่างละ 2 พันธุ์จากทั้งหมด 30 พันธุ์เพื่อนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของเมล็ดกับปริมาณไทอามีนรวม พบว่า ปริมาตรชั้นรำและความหนาชั้นรำมี ความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณไทอามีนรวม (r = 0.50 และ 0.68 ตามลำดับ) ซึ่งบริเวณชั้นรำเป็นส่วนที่พบการสะสมของไทอามีนสูงที่สุด รองลงมาคือส่วนของเอ็มบริโอและเอนโดสเปิร์ม คิดเป็นร้อยละ 70-82, 14-20 และ 8-15 ของไทอามีนในเมล็ดข้าวกล้องตามลำดับ จากการทดสอบทางสถิติพบว่าเอ็มบริโอทั้ง 6 พันธุ์มีปริมาณไทอามีนไม่แตกต่างกัน ชี้ให้เห็นว่าปริมาณไทอามีนที่ต่างกันของข้าวกล้องขึ้นกับความผันแปรของไทอามีนบริเวณชั้นรำเป็นหลัก นอกจากนี้ในแต่ละระยะการพัฒนาของเมล็ดมีการสะสมไทอามีนและกิจกรรมของเอนไซม์ HMPK/TMP-PPase (HMP kinase/ thiamine-phosphate pyrophos phorylase) ที่สังเคราะห์ไทอามีนแตกต่างกันในระยะดอกบานมีปริมาณไทอามีนและกิจกรรมของเอนไซม์ HMPK/TMP-PPase น้อยที่สุด (0.04 ug/grain และ 0.14 nmol thiamine/mg protein/min ตามลำดับ) จากนั้นมีการสร้างและสะสมไท อามีนเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจนในระยะน้ำนมและเริ่มคงที่ในระยะข้าวเม่าถึงระยะเก็บเกี่ยวซึ่งเป็นระยะที่ปริมาณไทอามีนมากที่สุดขณะที่กิจกรรมของเอนไซม์ HMPK/TMP-PPase ลดลง (0.07 ug/grain และ 0.03 nmol thiamine/mg protein/min ตามลำดับ) จากข้อมูลดังกล่าวเห็นถึงความผันแปรของไทอามีนและกิจกรรมของเอนไซม์ที่สังเคราะห์ไทอามีน ซึ่งเป็นผลทั้งจากพันธุกรรมของข้าวและระยะการพัฒนาของเมล็ดข้าวที่ต่างกัน แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ในการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีการสะสมไทอามีนในเมล็ดสูงขึ้นได้ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ข้าวกล้อง -- การผลิต | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ | |
dc.subject | ข้าวกล้อง | |
dc.title | ปริมาณและกิจกรรมการสังเคราะห์ไทอามีนในข้าวไทย | |
dc.title.alternative | The contents nd biosynthesis of thimine in thi rice | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Brown rice is a recommended source of thiamine (vitamin B1). Therefore, the total thiamine content was determined in 30 Thai rice cultivars to access the variation of thiamine contents. It was found that the 30 rice cultivars were significantly different in total thiamine content and the high variability of total thiamine was 0.303 mg/100g. Phitsanulok2 rice had the lowest and RD41 ricehad the highest of total thiamine which were 0.144 and 0.447 mg/100g, respectively. Six rice cultivars were selected from 30 cultivars based on their differences in the content of total thiamine including two rice cultivars from each level of high, medium and low content to analyze the correlation between physical characteristic of grain and total thiamine content. It was found that volume and width of bran layer were positively correlated with total thiamine (r = 0.50 and 0.68respectively). The highest accumulation of thiamine was in bran layer following by embryo and endosperm (70-82%, 14-20% and 8-15% of thiamine in brown rice respectively). The statistical analysis showed that thiamine content were not different in embryo of 6 rice cultivars. Thus, the major variation of thiamine content in brown rice depends on the variation of thiamine content in bran layer. In addition, at different stages of grain development showed the different accumulation of thiamine and HMPK/TMPPPase activity. At flowering stage had the lowest of thiamine and HMPK/TMP-PPase activity (0.04 ug/grain and 0.14 nmol thiamine/mg protein/min respectively). Thiamine clearly increase at milky stage and constant at dough stage to maturity stage. Finally at maturity stage had the highest of thiamine but HMPK/TMP-PPase activity tended to decrease (0.07 ug/grain and 0.03 nmol thiamine/mg protein/min respectively). These results showed the variation of thiamine content and activity of enzyme which involve thiamine biosynthesis depends on the difference of genetic variation and grain developmental phase. It shows the possibility to develop highthiamine rice. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์ชีวภาพ | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.24 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น