กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7956
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ | |
dc.contributor.author | ยุทธพร อิสรชัย | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T06:14:59Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T06:14:59Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7956 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุดมการณ์ เจตจํานงทางการเมือง การจัดโครงสร้างองค์กรทางการเมืองยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ กับกลุ่ม กปปส. ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2548-2557 เพื่อเสนอทฤษฎีการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในสังคมไทยโดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร และการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือ แกนนํากลุ่มพันธมิตรฯ กลุ่ม กปปส. และนักวิชาการ และวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ กับกลุ่ม กปปส. ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2548-2557 อยู่บนอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และแนวคิดประชาธิปไตยแบบไทย ๆ มีเจตจํานงทางการเมืองที่ มุ่งเน้นการก่อตัวใหม่ของสังคมบางส่วน และมุ่งเน้นทางเลือกมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางประการของนักการเมืองเป็นสําคัญ แต่เจตจํานงดังกล่าวได้มุ่งไปที่การเปลี่ยนการเมือง มากกว่าจะเป็นการมุ่งไปที่การ เปลี่ยนหรือสร้างประชาสังคม มีการจัดโครงสร้างองค์กรทางการเมืองในลักษณะการทําแนวร่วมระหว่างชนชั้นหากแต่ดุลอํานาจในการเคลื่อนไหวเป็นของฝ่ายชนชั้นกลางมากกว่าภาคประชาชน แกนนํา พันธมิตรหรือ ผู้สนับสนุน และผู้เข้าร่วมชุมนุมที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน เป็นปัจจัยแห่งความสําเร็จ มียุทธศาสตร์การเคลื่อนไหวที่อาศัยโครงสร้างโอกาสทางการเมือง เพื่อสร้างความสําเร็จทางการเมืองโดยใช้ยุทธวิธีขัดขวางท้าทายระบบการเมืองปกติ มุ้งเน้นขัดขวางการทํางานของกลไกการเมืองปกติ เพื่อสร้างสภาวะ “รัฐล้มเหลว” ปรากฏการณ์ดังกล่าวนําไปสู่การสร้าง “ทฤษฎีการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในสังคมไทย” ซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีการระดมทรัพยากรและแนวการวิเคราะห์กระบวนการทางการเมือง ที่มักถูกหยิบยกมา ใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในตะวันตก แต่ไม่อาจอธิบายปรากฎการณ์ในการเคลื่อนไหวของขบวนการภาคประชาชนในสังคมไทยช่วง พ.ศ. 2548 – 2557 ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะมีปัจจัยสําคัญที่ส่งผลให้แตกต่างไปจากบริบทของการเคลื่อนไหวภาคประชาชนในสังคมตะวันตก คือ โครงสร้างรัฐรวมศูนย์ วัฒนธรรมทางการเมืองไทย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม และปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นในสังคมการเมืองไทย | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การต่อสู้ทางการเมือง -- ไทย | |
dc.subject | การเมือง | |
dc.subject | Humanities and Social Sciences | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ | |
dc.subject | ความขัดแย้งทางการเมือง | |
dc.title | ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ใน พ.ศ. 2548-2557 | |
dc.title.alternative | Politicl movement of people's llince for democrcy (pd) nd people's democrtic reform committee (pdrc) in b.c. 2005-2014 | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to examine political ideology, intentions, organizations, and strategies employed by the People’s Alliance for Democracy (PAD) and the People’s Democratic Reform Committee (PDRC) during 2005 – 2014 to establish a theory on political movement in Thai society. This study employed a qualitative research approach involving in-depth interviews with PAD and PDRC leaders, and Thai political scholars, text analysis, and descriptive analysis. The study found that the movements of PAD and PDRC during 2005 – 2014 were informed by the ‘royalist-nationalist’ ideology and ‘Thai-style’ democracy. They employed reformative movement and alternative movement with a political will to change politicians’ behaviors. However, their political views gravitated to political action rather than changing or building a civil society. Their political organization was a collaboration between social class groups with the power of balance situated within middle-class group. PAD leaders and their constitutents had adherent goals. As a strategy, they used political opportunity structure to disrupt the stability of government, causing a failed state. Such phenomenon informs the “theory of People’s social movement in Thai context,” which differs from existing resource mobilization theory and analyses based on political process approach in Western societies. Previous social movement theories and analytical frameworks cannot fully explain the movements in Thailand during 2005-2014 because there were several factors that made them unique from the West, including the centralized state structure, Thai political culture, structural economic and social changes, and the lack of consolidated democracy in Thai politics. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ | |
dc.degree.name | รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.55 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น