กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7955
ชื่อเรื่อง: สาเหตุของความรุนแรงในครอบครัว กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The cuses of fmily violence: cse study of mung district, chchoengso province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เอกวิทย์ มณีธร
พัณณิตา พวงทับทิม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม
ครอบครัว
Humanities and Social Sciences
ความรุนแรงในครอบครัว
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยเรื่อง “สาเหตุของความรุนแรงในครอบครัว กรณีศึกษา อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมความรุนแรงของเยาวชนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความรุนแรงของเยาวชนในพื้นที่อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดที่ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นและความตรงเชิงเนื้อหา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 398 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ในการทดสอบสมมติฐาน และการทดสอบสมมุติฐาน ด้วยสถิติไคสแควร (Chi-Square test) ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เพศหญิง มีจํานวน 211 ราย ร้อยละ 53.0 มีอายุ 26 -30 ปี มีจํานวน 186 ราย ร้อยละ 46.7 มีรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท จํานวน 191 ราย ร้อยละ 48.0 มีระดับ การศึกษาระดับปริญญาตรี จํานวน 293 ราย ร้อยละ 73.6 มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน จํานวน 164 ราย ร้อยละ 41.2 และมีสถานภาพโสด จํานวน 335 ราย ร้อยละ 84.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นสาเหตุความรุนแรงในครอบครัว พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยในระดับมากว่าปัจจัยด้านการศึกษาเป็นสาเหตุความรุนแรงในครอบครัวที่ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.77 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.136 รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการสื่อสารที่ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.76 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.202 รองลงมาคือ ปัจจัยด้านสภาวะเศรษฐกิจที่ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.75 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.126 และปัจจัยด้านความเชื่อ ค่านิยม และสังคมที่ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.35 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.244 สรุปผลการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 1 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ ระดับการศึกษาและสถานภาพมีความสัมพันธ์กับสาเหตุความรุนแรงในครอบครัวในพื้นที่อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 2 พบว่า ปัจจัยด้านสังคมมีความสัมพันธ์กับสาเหตุความรุนแรงในครอบครัวในพื้นที่อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทราอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 3 พบว่า ปัจจัยด้านสภาวะเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับสาเหตุความรุนแรงในครอบครัวในพื้นที่อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทราอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 4 พบว่า ปัจจัยด้านการศึกษามีความสัมพันธ์กับสาเหตุความรุนแรงในครอบครัวในพื้นที่อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทราอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 5 พบว่า ปัจจัยด้านการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับสาเหตุความรุนแรงในครอบครัวในพื้นที่อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทราอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7955
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น