กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7951
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorอนุรัตน์ อนันทนาธร
dc.contributor.authorศิริวรรณ แซ่ฉั่ว
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:14:58Z
dc.date.available2023-05-12T06:14:58Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7951
dc.descriptionงานนิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง คุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตําบลดอนหัวฬ่อ อําเภอเมืองจังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตําบลดอนหัวฬ่อ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตําบลดอนหัวฬ่อ 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตําบลดอนหัวฬ่อ อําเภอเมืองจังหวัดชลบุรี ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้สูตรการคํานวณของ Yamane ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจํานวน 386 คน ผลการศึกษาพบว่า 1. ด้านเศรษฐกิจ พบว่า ด้านเศรษฐกิจโดยภาพรวมคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตําบล ดอนหัวฬ่อ อําเภอเมืองจังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับปานกลาง (Xˉ= 3.30) โดยพบว่ากลุ่มครัวเรือนตัวอย่างส่วนใหญ่มีการดําเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนมีการสร้างงานใหม่ทําให้เกิดรายได้มีความคล่องตัวในการใช้จ่ายมากขึ้นและส่งผลให้มีเงินออมจากการรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตและพัฒนาสินค้าหรืออาชีพของชุมชน ตามอันดับ 2. ด้านสังคม พบว่าด้านสังคมโดยภาพรวมคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตําบลดอนหัวฬ่อ อําเภอเมืองจังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับปานกลาง (Xˉ = 2.81) โดยประชาชนมีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมสังคมได้ดีทั้งที่อยู่อาศัย การคมนาคมที่แปรเปลี่ยนไปตามเวลา ชุมชนมีการดําเนินกิจกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ อยู่ตลอด มีการพึ่งพาอาศัยและให้ความช่วยเหลือกันของคนในชุมชน ตามอันดับ 3. ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ด้านสิ่งแวดล้อมโดยภาพรวมคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตําบลดอนหัวฬ่อ อําเภอเมืองจังหวัด อยู่ในระดับน้อย (Xˉ = 2.52) โดยแต่เดิมชาวบ้านมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายทําอาชีพเกษตรกรรม แต่หลังจากที่มีอุตสาหกรรมเข้ามาตั้งแล้วทําให้วิถีชีวิตเปลี่ยนไปที่ดินทํากินและอาชีพดั้งเดิมหายไปเพราะความต้องการที่ดินเพื่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม บางส่วนต้องไปรับจ้าง บางส่วนทําการค้าขายนอกจากนี้แล้วยังมีแรงงานอพยพเข้ามาจํานวนมาก แต่ในส่วนใหญ่ จะเป็นประชากรแฝง และมีปัญหาทางด้านการลักเล็กขโมยน้อยยาเสพติด และการจราจร ตามอันดับ 4. ด้านสุขภาพ พบว่า ด้านสุขภาพ พบว่าโดยภาพรวมคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตําบลดอนหัวฬ่อ อําเภอเมืองจังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับปานกลาง (Xˉ = 2.92) โดยทางด้านสุขภาพพบว่าแรงงานส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาทางด้านสุขภาพทางด้านความปลอดภัยและอาชีวะอนามัยในการ ทํางาน พบว่าส่วนมากอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนด ทางด้านความต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐ ตามอันดับ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectคุณภาพชีวิต -- ไทย -- ชลบุรี
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง
dc.subjectHumanities and Social Sciences
dc.titleคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดอนหัวฬ่อ อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี
dc.title.alternativeThe qulity of life of the people inhbitting in industril zone in re of don hu lo subdistrict dministrtive orgniztion, mung district, chonburi province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe quality of life of the people inhabitating in industrial Zone in Area of Don Hua Lo Subdistrict Administrative Organization , Muang, District, Chonburi Province., The purpose of the research. was 1. to study the quality of life of people affected by industrial factories in Don Hua District Subdistrict Administration Organization 2. to study factors related to quality of life of people affected by industrial factories in the area. 3. to study the suggestions for improving the quality of life of people affected by industrial factories in Tambon Don Ya Sub-district Administrative Organization. The results of the study showed: 1. The economic aspect of the economy as a whole, The quality of life of the people inhabitating in industrial zone in Area of Don Hua Lo Subdistrict Administrative Organization, Muang, District, Chonburi Province., At the moderate level (Xˉ = 3.30) By The sample found that most of the sample households had sufficient economic life in the community, creating new jobs, resulting in more income and flexibility in spending, resulting in savings from the group to produce. And develop the product or profession of the community by rank. 2. The social aspect is that the overall quality of life of the people inhabitating in industrial zone in Area of Don Hua Lo Subdistrict Administrative Organization, Muang, District, Chonburi Province., At the moderate level (Xˉ = 2.81) The People have adapted to the social environment as well as the housing, transport, which changes over time. The community has been carrying out activities in accordance with the traditions and traditions of the community and the support of the people in the community. 3. Environment The overall quality of life of the people inhabitating in industrial zone in Area of Don Hua Lo Subdistrict Administrative Organization , Muang, District, Chonburi Province., Low level (Xˉ = 2.52) Traditionally, the villagers have a simple way of life. But after the industry was set up, the way of life changed, the land and the traditional occupation disappeared because of the demand for land to build factories. Some have to hire. In addition, there are many migrant workers. But most of them are passive populations. And there are problems with stealing drugs and traffic by rank. 4. Health It was found that the overall quality of life of the people inhabitating in industrial zone in Area of Don Hua Lo Subdistrict Administrative Organization , Muang, District, Chonburi Province., At the moderate level (Xˉ = 2.92) By health, most workers have no health problems. Safety and Occupational Health Most of them are legal. The need for government assistance by rank.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf787.54 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น