กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7946
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งนายกเมืองพัทยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Fctors influencing the votes of elected myor of ptty city |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ไพฑูรย์ โพธิสว่าง ภัทรภร กลิ่นสุคนธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | นายกเมืองพัทยา -- การเลือกตั้ง การเลือกตั้ง มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการเมืองการปกครอง Humanities and Social Sciences นายกเมืองพัทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งนายกเมืองพัทยา อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เพื่อให้ทราบว่าการได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งเกิดจากปัจจัยใดบ้าง แต่ละปัจจัยมีความสําคัญมากหรือน้อยเพียงใด และนํามาสร้างเป็นสมการทางคณิตศาสตร์ กําหนดกลุ่มตัวอย่างจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยา จํานวน 399 คน นํามาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) กําหนดนัยสําคัญทางสถิติไว้ที่ .05 เพื่อตอบวัตถุประสงค์และสมมติฐาน การวิจัยซึ่งข้อมูลเชิงปริมาณได้จากการตอบแบบสอบถามผนวกกับเชิงคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์จากประชากรกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ในการปฏิบัติจริงแล้วนําข้อมูลมาวิเคราะห์ภาพรวมเพื่อมาสนับสนุนการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า เขตการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นอันดับที่ 1 และได้เป็นนายกเมืองพัทยา มีปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ ด้านการรณรงค์หาเสียง รองลงมาคือ ด้านกระบวนการการทุจริตรูปแบบต่างๆ ด้านคุณสมบัติส่วนตัวของผู้สมัคร ตามลําดับ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งสามารถนํามาเขียนเป็นสมการได้ การได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากเป็นอันดับ 1 = 21.18 + .58 ด้านการรณรงค์หาเสียง + .17 ด้านกระบวนการการทุจริตรูปแบบต่าง ๆ + .17 ด้านคุณสมบัติ ส่วนตัวของผู้สมัคร พบว่า ปัจจัยด้านการณรงค์หาเสียง ปัจจัยด้านกระบวนการการทุจริตรูปแบบต่าง ๆ และปัจจัยด้านคุณสมบัติส่วนตัวของผู้สมัคร เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งให้เป็นนายกเมืองพัทยา (ชนะการเลือกตั้ง) ทางด้านวิจัยเชิงคุณภาพจากข้อมูลการสัมภาษณ์ในทุก ๆ ปัจจัยสามารถเกิดขึ้นได้ในการเลือกตั้งตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบันเพราะแต่ละยุคสมัย ปัจจัยแต่ละอย่างยังคงใช้ตลอดกาลและปัจจัยในบางอย่างก็อาจจะมีการเข้มงวดและอาจจะเลือนหายไปในอนาคตได้ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7946 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 996.36 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น