กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7929
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการพูดภาษาไทยของนักศึกษาจีนตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองและการสร้างความรู้ด้วยตนเอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of thi lnguge instructionl model to enhnce thi speking bility of chinese students bsed on self-efficcy theory nd constructivism theory |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | Xioyn Zhou วิชิต สุรัตน์เรืองชัย วิมลรัตน์ จตุรานนท์ เซียวเหยียน,โจว มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ภาษาไทย -- การใช้ภาษา ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน วิทยานิพนธ์ ?aปริญญาเอก ภาษาไทย--การสอนตนเอง มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อเสริมสร้าง ความสามารถทางการพูดภาษาไทยของนักศึกษาจีนตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง และการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการพูดภาษาไทยของนักศึกษาจีนตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองและการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ประชากร ได้แก่ นักศึกษาจีนที่เรียนสาขาวิชาภาษาไทย และได้ลงทะเบียนเรียนวิชาการพูดภาษาไทยเชิงประยุกต์ ของมหาวิทยาลัยฉู่ฉงนอร์มอล ปีการศึกษา 2560 เทอม 2 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการสอนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2) แบบทดสอบความสามารถทางการพูดภาษาไทย 3) แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง 4) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการสอน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจับแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการสอน ระยะที่ 2 การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัยพบว่า 1. ได้รูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการพูดภาษาไทย ของนักศึกษาจีนตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองและการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งมี 5 องค์ประกอบ หลักการ วัตถุประสงค์ของรูปแบบการสอน เนื้อหา ขั้นตอนของกิจกรรม การเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามรูปแบบ ซึ่งมีผลประเมินคุณภาพรูปแบบ การสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับดี ( = 4.10, SD = 0.13) 2. รูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพ สามารถเห็น ได้จาก 2.1 ความสามารถทางการพูดภาษาไทยหลังการทดลองของนักศึกษาจีนกลุ่มทดลองที่เรียนตามรูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการพูดภาษาไทยของนักศึกษาจีนตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองและการสร้างความรู้ด้วยตนเอง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักศึกษาจีนกลุ่มควบคุมที่เรียนตามการสอนแบบวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 เมื่อวิเคาระห์รายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถทางการพูดภาษาไทย ด้านการออกเสียง ด้านไวยากรณ์ ด้านคำศัพท์ ด้านความคล่องแคล่วในการใช้ภาษา ด้านความเข้าใจ ทั้ง 5 ด้านของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 การรับรู้ความสามารถของตนเองหลังการทดลองของนักศึกษาจีนกลุ่มทดลอง ที่เรียนตามรูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการพูดภาษาไทยของ นักศึกษาจีนตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองและการสร้างความรู้ด้วยตนเอง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักศึกษาจีนกลุ่มควบคุมที่เรียนตามการสอนแบบวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2.3 ความคิดเห็นของนักศึกษาจีนกลุ่มทดลองที่มีต่อรูปแบบการสอนภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการพูดภาษาไทยของนักศึกษาจีนตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถ ของตนเองและการสร้างความรู้ด้วยตนเอง อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.08, SD = 0.37) |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7929 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.21 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น