กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7915
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนอย่างมีความสุขของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors ffecting of the hppyness lerning of grdute studentsunder fculty of eduction burph university
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สถาพร พฤฑฒิกุล
ภารดี อนันต์นาวี
อังคณา เสงี่ยมวัฒนาวงศ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ความสุข
การเรียน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan (1970, pp. 608 - 609) กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ศึกษาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2557 - 2560 จำนวน 265 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Xˉ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) วิเคราะห์ โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient)การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. การเรียนอย่างมีความสุขของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านผู้เรียน ปัจจัยด้านครอบครัว ของนิสิต ระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 3. ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านผู้เรียน ปัจจัยด้านครอบครัว กับการเรียน อย่างมีความสุขของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมและ รายด้าน อยู่ในระดับค่อนข้างสูง 4. ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านผู้เรียน ปัจจัยด้านครอบครัว ส่งผลต่อ การเรียนอย่างมีความสุขของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. ตัวพยากรณ์ที่ใช้พยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนอย่างมีความสุขของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยเลือกตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุดในการสร้างสมการ พบว่า ความพร้อมทางอารมณ์ (X23) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเพื่อน (X13) การส่งเสริมการเรียนรู้ของครอบครัว (X32) ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว (X33) ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนการสอน (X12) คุณลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษา (X11) ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ผู้สอนกับนิสิต (X14) และความพร้อมทางสังคม (X21) สามารถการเรียนอย่างมีความสุขของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ร้อยละ 78.80 สามารถร่วมกันทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ยกเว้นด้านความพร้อมทางสังคม (X21) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยรูปแบบของสมการ ดังนี้ Y' = 1.186+ .576(X23) + .315(X13) + .282(X32) - .230(X33) - .488(X12) + .218(X11) + .173(X14) - .101(X21) หรือ ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z' = .640(23) + .414( 13) + .349( 32) - .242( 33) -.558( 12) + .265( 11) + .251( 14) - .130( 21)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์(กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7915
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น