กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7912
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เสกสรรค์ ทองคำบรรจง | |
dc.contributor.advisor | พงศ์เทพ จิระโร | |
dc.contributor.advisor | ปนัดดา จูเภาล์ | |
dc.contributor.author | วิรุธน์ บัวงาม | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T06:14:51Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T06:14:51Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7912 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ประเมินความต้องการจำเป็นและวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพ การศึกษาระดับหลักสูตรสาขาครุศาสตรบัณฑิต บูรณาการกรอบทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 361 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา วิเคราะห์ จัดลำดับ ความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตร Priority Needs Index: PNI (PNI Modified) และวิเคราะห์โมเดล เชิงสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) 2) พัฒนารูปแบบ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรสาขาครุศาสตรบัณฑิต บูรณาการกรอบทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบผู้เชี่ยวชาญ 17 คน เก็บข้อมูลโดยแบบประเมินและแบบวิพากษ์รูปแบบวิเคราะห์ ค่ามัธยฐานและพิสัยควอไทล์ 3) ประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรสาขาครุศาสตรบัณฑิต บูรณาการกรอบทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ทดลองใช้รูปแบบการประเมินกับหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต จำนวน 1 หลักสูตร และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบใน 4 ด้าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานและวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย สรุปได้ว่า 1. หลักสูตรสาขาครุศาสตรบัณฑิตมีการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยในระดับมากและมีความต้องการจำเป็นในการปรับปรุงประบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในลำดับแรก 2. โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การประกันคุณภาพการศึกษาหลักสูตรสาขาครุศาสตรบัณฑิตที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2 = 149.449; 2-test = .000; 2/ df = 3.397; CFI = .973; GFI = .939; AGFI = .891; RMR = .015; RMSEA = .082) ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวน (R2) ได้ร้อยละ 77 3. รูปแบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรสาขาครุศาสตรบัณฑิต บูรณาการกรอบทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 1) วัตถุประสงค์ของการประเมิน2) สิ่งที่มุ่งประเมิน 3) วิธีการประเมิน และ 4) วิธีการติดสินผล 4. ตัวบ่งชี้ในรูปแบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรสาขาครุศาสตรบัณฑิต บูรณาการกรอบทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ จำนวน 17 ตัวบ่งชี้ คือ องค์ประกอบที่ 1 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 3 ทักษะชีวิตและการทำงาน จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ 5. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรสาขาครุศาสตรบัณฑิต บูรณาการกรอบทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 พบว่า อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน โดยมาตรฐานด้านการมีประโยชน์ (Utility) มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านความเป็นไปได้ (Feasibility) ด้านความสมเหตุสมผล (Propriety) และด้านความถูกต้อง (Accuracy) ตามลำดับ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การศึกษาขั้นอุดมศึกษา | |
dc.subject | คุณภาพการศึกษา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา | |
dc.subject | คุณภาพการศึกษา -- การประเมิน | |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรสาขาครุศาสตรบัณฑิตบูรณาการกรอบทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 | |
dc.title.alternative | The development of qulity ssesment model of eduction curriculum integrted with the 21st centuty skills | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to: 1) study the current situation, needs assessment and Analysis of Structural Equation Modeling Factors Affecting participation of quality assurance operation in bachelor of education program integrated with 21st century skills. Collected data by questionnaire from 361 samples who were lecturers at the Faculty of Education, Rajabhat Universities. Analyze data with descriptive statistics. Analyze and prioritize requirements using the Priority Needs Index formula: PNI (PNI Modified) and analyze Structural Equation Model (SEM). 2) Develop a model, indicators and criteria for assessing the quality of Bachelor of Education Program integrated with 21st century skills by analyzed the synthesis of relevant concepts and research. The model was verified for the appropriateness and feasibility by 17 experts. The data were analyzed by median and interquartile range. 3) Evaluate the effectiveness of the developed quality assesment model. A model of assesment was used for the curriculum and evaluation of the effectiveness of the 4 aspects. The data were collected by an effectiveness evaluation forms. The data were analyzed by descriptive statistics and content analysis. The findings were as follows: 1. The bachelor of education program has quality assurance operation as a whole at a high level. and needs to improve the teaching and learning process for the 21st century skills. 2. The developed structural Equation Model of Factors Affecting Participation in the operation quality assurance of bachelor of education program was consistent with the empirical data (2 = 149.449; 2-test = .000; 2/ df = 3.397; CFI = .973; GFI = .939; AGFI = .891; RMR = .015; RMSEA = .082). All variables in the model can explain 77% variance. 3. The quality asessment model of education curriculum intergreted the 21st century skills consisted of 4 elements: 1) Objectives of the Assessment 2) Objectives of the Assessment 3) Assessment Method 4) Judement of results assessment. 4. The indicator in the model consisted of 3 components. Component 1 learning and innovation skills with 17 indicators, Components 2 Information technology skills with 5 indicators. and Components 3 Life skills and work with 8 indicators. 5. The results of the evaluation of the effectiveness of quality asessment model of education curriculum intergreted integrated with 21st century skills were found to be at a high level in all aspects. The utility standard was the highest, followed by feasibility standard, Propriety standard and Accuracy standard, respectively. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 4.9 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น