กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7907
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorระพินทร์ ฉายวิมล
dc.contributor.advisorสุรินทร์ สุทธิธาทิพย์
dc.contributor.authorสิวินีย์ ทองนุช
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:14:50Z
dc.date.available2023-05-12T06:14:50Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7907
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบลักษณะ มุ่งอนาคต 2) สร้างโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคสำหรับพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคต และ 3) ศึกษาผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคต่อการพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการในภาคตะวันออกของประเทศไทย แบ่งป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 960 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) เพื่อใช้ในการศึกษาองค์ประกอบลักษณะมุ่งอนาคต กลุ่มที่ 2 เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแสนสุข จังหวัดชลบุรี ที่มีคะแนนลักษณะมุ่งอนาคตต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 จำนวน 24 คน สุ่มเป็น 2 กลุ่ม และทำการสุ่มเข้ากลุ่ม (Random assignment) แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน เพื่อใช้ในการศึกษาผลของโปรแกรม การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคในกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมใช้วิธีปกติของ โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ 1) แบบวัดลักษณะมุ่งอนาคต และ 2) โปรแกรมการปรึกษา กลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคสำหรับพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคต แผนการทดลองเป็นแบบสุ่ม 2 กลุ่ม ทดสอบระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล (The randomized pretest-posttest control group design) และมีแผนการดำเนินการปรึกษากลุ่มในการทดลอง 18 ครั้ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง วัดซ้ำ (Two-way repeated measures ANOVA และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี Bonferroni ผลการวิจัย พบว่า 1. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ปรากฏว่า โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันลักษณะมุ่งอนาคตประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การรับรู้ความสามารถตนเอง เจตคติต่อการเรียนรู้ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การควบคุมตนเอง และการคาดการณ์อนาคต มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ . 05 และสามารถวัดองค์ประกอบลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ 2. รูปแบบโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค เพื่อพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเริ่มต้น การให้การปรึกษา ขั้นดำเนินการให้การปรึกษาและขั้นยุติการให้การปรึกษา โดยเนื้อหาได้ บูรณาการทฤษฎีการปรึกษากลุ่มพฤติกรรมการรู้คิด (CBT) และเทคนิคในทฤษฎีการปรึกษากลุ่ม ที่เกี่ยวข้องอีก 4 ทฤษฎี ได้แก่ เทคนิคในทฤษฎีเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม (REBT) เทคนิค ในทฤษฎีเกสตัลท์ (GT) เทคนิคในทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (BT) และเทคนิคในทฤษฎีเผชิญความจริง (RT) เพื่อพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3. ผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคต่อลักษณะ มุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับ การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคมีลักษณะมุ่งอนาคตในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษีฎและเทคนิคมีลักษณะมุ่งอนาคต ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น -- การศึกษา
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
dc.titleการพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค
dc.title.alternativeThe development on future orienttion of grde 9thstudents through ssimiltive integrtive group counseling
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis study was a research and development that aimed to; 1) study the future orientation factor, 2) develop the assimilative integrative group counseling program for develop the future orientation technique, and 3) study the result of the assimilative integrative group counseling program and the development of future orientation technique. The samples were grade 9th students in the schools of the Secondary Educational Service Area Office, Ministry of Education in the eastern area of Thailand. These samples were divided into two groups. The first one was 960 grade 9th students those were selected by multistage random sampling to study the future orientation factor. The second group was 24 students at grade 9th of Saensook School, Chon Buri Provinces, those who earned the score lower than percentile 25th. The second group was randomly assigned into an experimental group and control group. Each group consisted of 12 students to study the result of the assimilative integrative group counseling program technique in an experimental group and normal method for the control group.The research instruments were 1) Future orientation measurement form, and 2) The assimilative integrative group counseling program and development of the future orientation technique. The experiment consisted of three stages, pretest, posttest and follow up. The counseling was used 18 times in an experiment group. Data were analyzed using exploratory factor analysis, confirmatory factor analysis, two-way repeated measures ANOVA and Bonferroni for post-hoc procedure. The results were that; 1. Confirmatory factor analysis of future orientation of grade 9th students found that the factor of the future orientation model includes 5 factors: Self- efficacy perception, Attitude toward learning, achievement motive, self- control, and future expectation. This consistent with empirical data. The weight of the composition was high and was significant at the .05 level. It was possible to measure the future orientation factors of grade 9th students. 2. Program of the assimilative integrative group counseling and technique to develop the future orientation factor of grade 9th students consisted of 3 steps: 1) Beginning the counseling session, 2) The process of consulting and 3) Terminating the consultation. The Cognitive behavioral group counseling theory (CBT) and four techniques of group counseling theory: Rational emotive behavioral theory (REBT), Gestalt theory (GT), Behavioral theory (BT), and Reality theory (RT) were integrated to develop the future orientation factors of grade 9th students. 3. The result of the program of the assimilative integrative group counseling and development of the future orientation factor technique of grade 9th students was that 1) Grade 9th students who recieved the assimilative integrative group counseling and technique to develop the future orientation in the after experiment and follow up phrase were higher than the control group at the significant level .05 and 2) Grade 9th students who recieved the assimilative integrative group counseling and development of the future orientation technique in the after experiment and follow up phrase were higher than before the experiment at the significant level .05.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการปรึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น