กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7891
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสถาพร พฤฑฒิกุล
dc.contributor.advisorภารดี อนันต์นาวี
dc.contributor.authorอาทิตยา ชนะมาร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:13:03Z
dc.date.available2023-05-12T06:13:03Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7891
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียน วัฒนธรรมของโรงเรียนและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมของโรงเรียนและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 เพื่อศึกษาของโรงเรียนและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 จากวัฒนธรรมของโรงเรียนและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครู โรงเรียนในสังกัด เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 จำนวน 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณและวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. ประสิทธิผลของโรงเรียน วัฒนธรรมของโรงเรียนและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. วัฒนธรรมของโรงเรียน แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 มีความสัมพันธ์กันในทางบวก โดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. วัฒนธรรมของโรงเรียน (X1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู (X2) ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ปัจจัยด้านความเอื้ออาทร (X18) ด้านการได้รับความยอมรับนับถือ (X22) ด้านเป้าหมาย ของโรงเรียน (X11) และด้านการได้รับความสำเร็จ (X21) สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของ โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 ได้ร้อยละ 98.30 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูป คะแนนดิบ ได้ดังนี้ Y = 0.023 + 0.187 (X18) + 0.397 (X22) + 0.171 (X11) +0.251 (X21) หรือ ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = 0.208 (Z18) + 0.450 (Z22) + 0.197 (Z11) + 0.278 (Z21)
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectแรงจูงใจในการทำงาน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectครูประถมศึกษา -- การทำงาน
dc.titleวัฒนธรรมของโรงเรียนและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2
dc.title.alternativeThe schools culture nd job motivtion of techers ffecting school effectiverness under the chonburi primry eductionl service re office 2
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were; to study the level of schools effectiveness, the schools culture and job motivation of teachers under the Chonburi Primary Educational Service Area Office, to study the relationships of the schools culture, job motivation of teachers with school effectiveness, to study the schools culture and job motivation of teacher that affect the school effectiveness. The samples consisted of 201 teachers in schools under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 2. The research instrument employed for the data collection was a set of rating-scale questionnaires. The statistics for data analysis were; mean, standard deviation, Pearson product moment correlation coefficient, multiple regression analysis and Stepwise multiple regression analysis. The results of the study were as follows: 1. The schools effectiveness, the schools culture and job motivation of teachers under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 2 was found at high level. 2. The relationships between the schools culture, job motivation of teachers with the school effectiveness were at a relatively high level they correlated possitively with statistically significant at level of .01. 3. Factors of schools culture, job motivation of teachers affected the school effectiveness with statistically significant at .01 level 4. Generosity (X18), Acceptance (X22), School goals (X11), and Success (X21) can predict the schools effectiveness up to 98.30 percent. These could be formed as the regression equations of raw score as follows: Y = 0.023 + 0.187 (X18) + 0.397 (X22) + 0.171 (X11) +0.251 (X21) Or Equation of Standard Score: Z = 0.208 (Z18) + 0.450 (Z22) + 0.197 (Z11) + 0.278 (Z21)
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameกศ.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น