กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7887
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of prticiptive mngement model of smll size primry schools under the office of bsic eduction commission
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สถาพร พฤฑฒิกุล
ธนวิน ทองแพง
ดวงเดือน วินิจฉัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยวิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed methods) ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์เอกสารและ การสัมภาษณ์เชิงลึกเรื่องสภาพปัจจุบันปัญหาของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กกับผู้บริหาร คณะครู และคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็น กรอบแนวคิดในการร่างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) การพัฒนารูปแบบโดยใช้การอภิปรายกลุ่ม (Focus group discussion) กับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 3) การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมาย และ 4) การทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มเป้าหมาย ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่1 ผู้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา ประกอบด้วย กลุ่มบุคคล 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) คณะกรรมการบริหารงานสถานศึกษา และ 2) ผู้สนับสนุนการบริหารงานสถานศึกษา ส่วนที่ 2 กระบวนการของการบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การมีส่วนร่วม 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ร่วมวางแผน 2) ร่วมตัดสินใจ 3) ร่วมปฏิบัติ 4) ร่วมประเมินผล และ 5) ร่วมรับผลประโยชน์ ส่วนที่ 3 ขอบข่ายการบริหารงานของสถานศึกษา ประกอบด้วย กรอบภาระงาน 4 งาน ได้แก่ 1) การบริหารงานวิชาการ 2) การบริหารงานบุคคล 3) การบริหารงานงบประมาณ และ 4) การบริหารงานทั่วไปและส่วนที่ 4 เป้าหมายของการบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย คุณภาพสถานศึกษา 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านนักเรียน 2) ด้านครู และ 3) ด้านการบริหารจัดการผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายที่ทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ความคิดเห็นต่อ ผลการดำเนินงานทั้งด้านการมีส่วนร่วมและด้านผลการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7887
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น