กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7883
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
dc.contributor.advisorสถาพร พฤฑฒิกุล
dc.contributor.authorณัฐศักดิ์ ศิริสมบูรณ์เวช
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:13:01Z
dc.date.available2023-05-12T06:13:01Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7883
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหาร ประกอบด้วย ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชน และปัจจัยบรรยากาศองค์การของโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำนวน 317 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งเป็น 4 ตอน คือ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียน 2) แบบสอบ ถามเกี่ยวกับปัจจัยภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลง 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 4) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยบรรยากาศองค์การของโรงเรียน โดยแต่ละด้านมีค่าอำนาจรายข้ออยู่ระหว่าง .40 - .93 และมีค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง .95 - .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลของโรงเรียน ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชน และปัจจัยบรรยากาศองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับ มาก 2. ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชน และปัจจัยบรรยากาศองค์การของโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ยกเว้น ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (X24) อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ (X22) และด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ (X23) และปัจจัยบรรยากาศองค์การของโรงเรียน ด้านโครงสร้างองค์การ (X32) และด้าน ความอบอุ่นและการให้การสนับสนุน (X34) ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1และสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ได้ร้อยละ 62.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Y' = 1.63 + 0.18(X22) + 0.20(X32) + 0.13(X34) + 0.10(X23) Z' = 0.25(Z22) + 0.27(Z32) + 0.21(Z34) + 0.15(Z23)
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร
dc.subjectประสิทธิผลขององค์การ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.titleปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
dc.title.alternativeAdministrtive fctors ffecting of schools effectiveness under the ryong primry eductionl service re office 1
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study administrative factors; the transformational leadership, the community participation factors and the organizational climate factors of a school those affected school effectiveness. The research sample were 317 teachers under the Rayong Primary Educational Service Area Office 1 selected by stratified random sampling. The Research instrument was a five rating scale survey questionnaire consisted 4 parts they were on; 1) the school effectiveness 2) the transformational leadership factors 3) the community participation factors and 4) the organizational climate factors, They had discriminant power between .40 - .93 and the reliability between .95 - .98. Data were analyzed by mean, standard deviation, Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The results of the study were as follows: 1. The school effectiveness, factors transformational leadership factors, community participation factors and organizational climate factors of the schools, as a whole and each aspect, were at the high level. 2. The transformational leadership factors, community participation factors and organizational climate factors of the schools were positively correlated at relatively high level with school effectiveness except evaluation participation (X24) was at the moderate level with statistically significant at .01 level. 3. The community participation factors on the implementation participation (X22) and benefits participation (X23), the organizational climate factors of the school on the organizational structure (X32) and the warmth and support (X34) affected of school effectiveness. They could cooperatively predict the schools effectiveness at 62.80 percent with statistically significant at .05 level. And could be written as the regression equations of raw score and standardized score as follows. Y' = 1.63 + 0.18(X22) + 0.20(X32) + 0.13(X34) + 0.10(X23) Z' = 0.25(Z22) + 0.27(Z32) + 0.21(Z34) + 0.15(Z23)
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameกศ.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น