กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/787
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorโสภา ชานะมูล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:53:09Z
dc.date.available2019-03-25T08:53:09Z
dc.date.issued2539
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/787
dc.description.abstractมองผ่านประสบการณ์ ความคิด การต่อสู้ จนกระทั่งการพยายามหาแนวทางแก้ไข ในท่ามกลางบริบททางสังคมไทยที่แปรเปลี่ยนตลอดเวลา ในที่สุดผู้ใหญ่วิบูลย์ ได้ค้นพบคำตอบสำหรับชีวิต คือ ระบบวนเกษตร ที่กลายเป็นเครื่องมือ รวมทั้งปรัชญาแนวคิดในการดำเนินชีวิตที่มีความสุขพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสุขจากการได้อิสระและได้เลือกด้วยตัวเอง ในระบบวนเกษตรจึงเป็นกระบวนการจากการศึกษาภาพของผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ในประเด็นเรื่องแนวคิดในการพึ่งตนเองของชุมชน โดยที่ไม่ได้ให้ความหมายในเชิงเศรษฐกิจการพึ่งพาตนเองอย่างเดียว แต่ในระบบวนเกษตรกลับแฝงด้วยปรัชญาการใช้ชีวิต ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่มีอยู่ในสังคมไทยอยู่แล้ว โดยเฉพาะเป็นภูมิปัญญาที่สอดคล้องกับวิถีการดำรงชีวิตของชาวนาชาวไร่ที่ยังมีพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม และมีความร่วมมือกันของชุมชน อาจรวมถึงการจัดตั้งเครือข่ายต่อไป ทั้งหมดนี้นำไปสู่แผนการสร้างความเป็นปึกแผ่นและความเข้มแข็งของชุมชนให้เกิดขึ้นได้อีกครั้ง ในภาวะที่สังคมไทยกำลังเจ็บปวดต่อพิษของเศรษฐกิจดังเช่นที่เป็นอยู่ปัจจุบัน คำถามที่มีความสำคัญสำหรับอนาคตของสังคมไทยว่าเราจะยังคงกลับไปใช้รูปแบบและแนวคิดเก่า อย่างเช่นในการเริ่มต้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจเช่นเมื่อครั้งเกือบสี่สิบปีที่ผ่านมา หรือว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องกลับทบทวน และแสวงหาทางเลือกอื่นๆ เป็นทางเลือกที่อิงอยู่กับฐานความรู้ หรือภูมิปัญญาที่เรามีอยู่ ทางเลือกที่สอดคล้องกับโครงสร้างสังคมไทยที่มีรากฐานการผลิตอยู่ที่ภาคเกษตรกรรม เหล่านี้คือความจริงที่มีอยู่ ไม่ใช่ความจริงที่เป็นภาพมายาที่ถูกสร้างขึ้นและฝันอยากจะเป็น เช่น การกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ การกลายเป็นเสือเศรษฐกิจใหม่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น บทสรุปนี้มิใช่คำตอบสำเร็จรูปที่ถูกต้องที่สุด เพราะงานวิจัยชิ้นนี้เป็นเพียงการตอบคำถามเล็กๆที่ใช้เพียงกรณีศึกษากรณีเดียวเท่านั้น คือผู้ใหญ่วิบูลย์ แต่ในกระบวนการค้นหารากเหง้า ภูมิปัญญาที่เรามีอยู่ อาจกล่าวได้ว่ามันยังไม่ได้เริ่มต้นอย่างแท้จริง และยังไม่ได้รับความสนใจอย่างแท้จริงในระดับนโนบายของชาติ สิ่งที่ควรดำเนินต่อไป คือการผลักดันเรื่องนี้ให้มีมิติการศึกษาที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น และมีการกลั่นกรอง เลือกสรร รวมทั้งอาจต้องมีการปรับกระบวนการของชุดภูมิปัญญาที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอกด้วย สังคมไทยคงไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ แต่จะดำรงอยู่อย่างไรที่ให้คนส่วนใหญ่มีชีวิตที่มีความสุข ตามอัตภาพ และไม่กลายเป็น “คนโง่ จน เจ็บ” แบบที่อาจารย์ เสน่ห์ จามริกได้วิพากษ์ไปแล้วนั่นเองth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2539en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการพัฒนาชุมชนth_TH
dc.subjectการพึ่งตนเองth_TH
dc.subjectผู้นำชุมชนth_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.titleศักยภาพของชุมชนในการพึ่งตัวเอง : ศึกษากรณีผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิมth_TH
dc.title.alternativeThe potentiality of community self-subsistence : case study of Mr. Wiboon Khemchaloemen
dc.typeResearchth_TH
dc.year2539
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_154.pdf3.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น