กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7876
ชื่อเรื่อง: | การตรวจสอบเฝ้าระวังอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) โดยใช้แผนภูมิควบคุม P ปรับแก้ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Monitoring the incidence of gestrtionl dibetes mellitus (gdm) using djusted p control chrt |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุชาดา กรเพชรปาณี ณัฐนันท์ วารีเศวตสุวรรณ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
คำสำคัญ: | เบาหวานในสตรีมีครรภ์ เบาหวาน -- โรค Health Sciences มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับแก้ขีดจำกัดควบคุม ตรวจสอบสมรรถนะของแผนภูมิควบคุม และการตรวจสอบเฝ้าระวังอุบัติการณ์ของ GDM โดยใช้แผนภูมิควบคุม p ปรับแก้ การดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1) ปรับแก้แผนภูมิควบคุม ตรวจสอบประสิทธิภาพของวิธีประมาณค่าสัดส่วนแบบช่วงที่มีการแจกแจงทวินาม วิธี W และวิธี ACP จำลองข้อมูล 3 สถานการณ์ 42 เงื่อนไข เกณฑ์พิจารณาคือ ค่า CP และค่า AW 2) ตรวจสอบสมรรถนะของแผนภูมิควบคุม p และแผนภูมิควบคุม p ปรับแก้ จำลองข้อมูล 2 สถานการณ์ 21 เงื่อนไข เกณฑ์พิจารณาคือ ค่า 3) นำแผนภูมิควบคุม p ปรับแก้ตรวจสอบเฝ้าระวัง และหาระดับการเตือนของอุบัติการณ์ GDM ร่วมกับกฎความไวสำหรับแผนภูมิ จากข้อมูลทุติยภูมิ GDM ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2554 – ม.ค. 2559 (52 เดือน) โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร จังหวัดสกลนคร ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ประสิทธิภาพของวิธีประมาณค่าสัดส่วนแบบช่วง: วิธี ACP มีประสิทธิภาพดีกว่าวิธี W ให้ค่า CP ผ่านเกณฑ์สัมประสิทธิ์ช่วงความเชื่อมั่นที่กำหนดทุกสถานการณ์ และให้ค่า AW น้อยกว่าวิธี W ทุกสถานการณ์ ยกเว้นขนาดตัวอย่าง 500 และค่าสัดส่วนของ GDM .10 และ .20 2) สมรรถนะของแผนภูมิควบคุม: แผนภูมิควบคุม p ปรับแก้มีสมรรถนะดีกว่าให้ค่า มากกว่าแผนภูมิควบคุม p ทุกสถานการณ์ 3) การตรวจสอบเฝ้าระวังอุบัติการณ์ของ GDM โดยแผนภูมิควบคุม p ปรับแก้ พบว่า 3.1) จุดออกนอกขีดจำกัดควบคุม 1 จุด คือ เดือน พ.ย. 2558 กระบวนการเกิดความผิดปกติขึ้น 3.2) ตรวจสอบหาสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยนำปัจจัยเสี่ยง (Risk factor) ของ GDM มาวิเคราะห์พาเรโตด้วยกฎ 80/20 พบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุสำคัญมากเกือบร้อยละ 80 มี 3 ปัจจัย ได้แก่ อายุตั้งครรภ์ตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ภาวะอ้วนก่อนการตั้งครรภ์ และภาวะน้ำหนักเกินก่อนการตั้งครรภ์ แสดงให้เห็นว่าเกิดจากสาเหตุที่ระบุได้ (Assignable causes) จึงตัดข้อมูลเดือน พ.ย. 2558 ออก 3.3) ปรับเส้นขีดจำกัดควบคุม พบว่า 3.3.1) ทุกจุดอยู่ในขีดจำกัดควบคุม แสดงว่ากระบวนการปกติ 3.3.2) ตรวจหาระดับการเตือน พบจุดที่ตกนอกขีดจำกัดเตือนบน 3 จุด คือ เดือน ต.ค. 2554, ม.ค. 2555 และเม.ย. 2558 ดำเนินการแจ้งเตือนเพื่อป้องกันการออกนอกขีดจำกัดควบคุมในอนาคต |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7876 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 6.14 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น