กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7873
ชื่อเรื่อง: การพัฒนามาตรวัดความเสี่ยงสำหรับผู้ลงทุนหุ้นสามัญประเภทบุคคล : การทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ประยุกต์บนเว็บ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of risk - ssessment scle for individul common stock investors: computerized web ppliction
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
เสรี ชัดแช้ม
พงษ์ศักดิ์ ศรุติปกรณ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวัดและเทคโนโลยีทางวิทยาการปัญญา
ความเสี่ยง
Humanities and Social Sciences
การลงทุน -- การบริหารความเสี่ยง
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การลงทุนในหุ้นสามัญมีความเสี่ยงของอัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนได้รับจริง อาจคลาดเคลื่อน ไปจากที่คาดหวังว่าจะได้รับ ปัจจุบันการประเมินความเสี่ยงสำหรับผู้ลงทุนหุ้นสามัญประเภทบุคคล ใช้คำแนะนำของสถาบันที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา มาตรวัดความเสี่ยงสำหรับผู้ลงทุนหุ้นสามัญประเภทบุคคลและพัฒนาโปรแกรมการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ประยุกต์บนเว็บ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ลงทุนในหุ้นสามัญชาวไทย ในปี พ.ศ. 2561 อายุ 20 ปี ขึ้นไป จำนวน 905 คน การวิจัยมี 4 ระยะ ได้แก่ 1) การสร้างข้อคำถามและการวิเคราะห์คุณภาพของข้อคำถามสำหรับมาตรวัดความเสี่ยง ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 850 คน 2) การจัดทำคลังข้อคำถามสำหรับมาตรวัดความเสี่ยง 3) การพัฒนาโปรแกรมการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ประยุกต์บนเว็บสำหรับมาตรวัดความเสี่ยง และ 4) การเปรียบเทียบค่าความเที่ยงของมาตรวัดระหว่างมาตรวัดความเสี่ยงสำหรับผู้ลงทุนหุ้นสามัญประเภทบุคคลที่พัฒนาขึ้น (RAS) กับแบบมาตรฐานในการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนประเภทบุคคลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฉบับ พ.ศ. 2557 ที่ใช้อยู่ในขณะนี้ (SEC) ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 55 คน ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1) มาตรวัดความเสี่ยงสำหรับผู้ลงทุนหุ้นสามัญประเภทบุคคล ประกอบด้วยข้อคำถามที่มีคุณภาพผ่านการวิเคราะห์ตามหลักการทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ แบบ Graded Response Model จำนวน 26 ข้อ จำแนกเป็นข้อคำถามด้านความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงการลงทุน 19 ข้อ และข้อคำถามด้านความเต็มใจในการยอมรับความเสี่ยงการลงทุน 7 ข้อ 2) คลังข้อคำถามสำหรับมาตรวัดความเสี่ยง มีข้อคำถามจำนวนทั้งสิ้น 26 ข้อ ข้อมูลที่บันทึกในคลังข้อคำถามประกอบด้วย ข้อคำถาม ตัวเลือกรายการคำตอบ ค่าพารามิเตอร์ความชัน ค่าพารา-มิเตอร์เทรซโฮลด์ และค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการประมาณค่า 3) โปรแกรมการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ประยุกต์บนเว็บสำหรับมาตรวัดความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้น เป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้งานในระดับเหมาะสมมาก 4) ผลการเปรียบเทียบค่าความเที่ยงระหว่างมาตรวัด ปรากฏว่า RAS มีค่าความเที่ยงสูงกว่า SEC แต่ไม่มีความแตกต่างกับ SEC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ RAS มีค่าความเที่ยงมากกว่า .70 สรุปได้ว่า มาตรวัดความเสี่ยงสำหรับผู้ลงทุนหุ้นสามัญประเภทบุคคล รูปแบบการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ประยุกต์บนเว็บ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการประเมินความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นสามัญได้
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7873
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf14.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น