กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7865
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorกนก พานทอง
dc.contributor.advisorอุทัยพร ไก่แก้ว
dc.contributor.authorรักชาติ ใสดี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned2023-05-12T06:12:56Z
dc.date.available2023-05-12T06:12:56Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7865
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมฝึกการตอบสนองความใส่ใจต่อเนื่อง (SART) และโปรแกรมฝึกการตื่นตัวด้วยตนเอง (SAT) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความใส่ใจต่อเนื่องระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอาชีวศึกษา ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยการอาชีพวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว โดยใช้วิธีการสุ่มแบบยกกลุ่ม 3 ห้องเรียน จำนวน 90 คน แล้วใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายจับฉลากเลือกว่าห้องใดเป็นกลุ่มทดลอง และห้องใดเป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือวิจัย แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ทดลอง ได้แก่ โปรแกรม SAT และโปรแกรมเกม Tetris และ 2) เครื่องมือที่ใช้วัดตัวแปรตาม ได้แก่ แบบทดสอบสมรรถนะต่อเนื่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test และ ANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. โปรแกรม SART และโปรแกรม SAT มีความเหมาะสมสำหรับการเพิ่มความใส่ใจต่อเนื่องของนักเรียนอาชีวศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนตอบสนองความใส่ใจต่อเนื่องของนักเรียนอาชีวศึกษา หลังการใช้โปรแกรม SAT สูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ค่าเฉลี่ยคะแนนตอบสนองความใส่ใจต่อเนื่องของนักเรียนอาชีวศึกษา หลังการใช้โปรแกรมเกม Tetris สูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ค่าเฉลี่ยคะแนนตอบสนองความใส่ใจต่อเนื่องของนักเรียนอาชีวศึกษา หลังการใช้โปรแกรม SAT สูงกว่าหลังใช้ Tetris อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ค่าเฉลี่ยคะแนนความใส่ใจต่อเนื่องของนักเรียนอาชีวศึกษา หลังใช้ SAT สูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. ค่าเฉลี่ยคะแนนความใส่ใจต่อเนื่องของนักเรียนอาชีวศึกษา หลังใช้โปรแกรมเกม Tetris สูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7. นักเรียนอาชีวศึกษา หลังใช้โปรแกรมฝึกการตื่นตัวด้วยตนเอง (SAT) โปรแกรมเกม Tetris และวิธีการตามปกติ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความใส่ใจต่อเนื่องแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมฝีกการตื่นตัวด้วยตนเอง (SAT) ที่พัฒนาขึ้น สามารถเพิ่มความใส่ใจต่อเนื่องของนักเรียนอาชีวศึกษา ได้เพิ่มขึ้นมากที่สุด
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectนักเรียนอาชีวศึกษา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subjectHumanities and Social Sciences
dc.titleผลของการฝึกการตื่นตัวด้วยตนเองเพื่อเพิ่มความใส่ใจต่อเนื่องของนักเรียนอาชีวศึกษา
dc.title.alternativeThe effect of self-lert trining on sustined ttention mong voctionl students
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to develop a Sustained Attention to Response Task (SART) program, and a Self-Alert Training (SAT) program, and (2) to determine the effectiveness of the programs using experimental and control groups. Cluster random sampling was employed to select 90 vocational students from three classrooms in the Wang Nam Yen Vocational College, Sa Kaeo Province, in the first semester of academic year 2018. Simple random sampling was then used to assign students to the experimental and control groups. The research instruments were SAT and Tetris games, and a continuous competency test. Data were analyzed using t-test and ANOVA. The results showed that: 1. The SART and SAT programs were judged to be highly suitable for enhancing sustained attention. 2. The sustained attention response scores after training with the SAT program were significantly higher than that before the training (p <. 05). 3. The sustained attention response scores after training with the Tetris game were significantly higher than that before the training (p <. 05). 4. The sustained attention response scores after training with the SAT program were significantly higher than that after the training with Tetris game (p <. 05). 5. The mean score of sustained attention after training with the SAT program was significantly higher than that before the training (p<.05). 6. The mean score of sustained attention after training with Tetris game was significantly higher than that before the training (p<.05). 7. The mean score of sustained attention after training with the SAT program, Tetris games, and no interventions were significantly different (p<.05). In conclusion, the developed SAT program was most effective in enhancing the sustained attention of the vocational students.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.nameวท.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf11.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น