กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7863
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นัยนา พิพัฒน์วณิชชา | |
dc.contributor.advisor | พรชัย จูลเมตต์ | |
dc.contributor.author | ธนภรณ์ พิพัฒน์วณิชชา | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T06:12:56Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T06:12:56Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7863 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | ความกลัวการหกล้มในผู้สูงอายุพบได้บ่อยและส่งผลถึงการจำกัดการปฏิบัติกิจกรรมประจำวันและการควบคุมโรคเบาหวานในผู้สูงอายุการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความกลัวการหกล้มและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นและการสุ่มอย่างง่ายจากผู้สูงอายุที่มารับบริการในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี จำนวน 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินความกลัวการหกล้มฉบับภาษาไทย แบบสัมภาษณ์การรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย การทดสอบการก้าวเดินและการทรงตัวของผู้สูงอายุเครื่องมือทดสอบการรับความรู้สึกบริเวณฝ่าเท้าและแผ่นวัดสายตาระบบตัวเลขวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน แรงค์ ออเดอร์และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความกลัวการหกล้ม (ร้อยละ 53.90) การรับรู้ภาวะสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลาง (rs= -.354, p< .01) ภาวะปลายประสาทเสื่อม มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ (rpb= .294, p= .001) และความสามารถในการก้าวเดิน และการทรงตัวมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ (rs= -.251, p= .003) กับความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ภาวะซึมเศร้า และความสามารถในการมองเห็นมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rs= .221, p= .009; rpb= .205, p= .028) ส่วนเพศอายุ และประสบการณ์การหกล้ม มีความสัมพันธ์กับความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุโรคเบาหวานอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 บุคลากรด้านสุขภาพควรให้ความสำคัญกับความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ที่มีการรับรู้ภาวะสุขภาพไม่ดีมีภาวะปลายประสาทเสื่อม มีการทรงตัวไม่ดีมีภาวะซึมเศร้า และความสามารถในการมองเห็นบกพร่องโดยสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแนวปฏิบัติหรือโปรแกรมการพยาบาลเพื่อลดความกลัวการหกล้ม หรือส่งเสริมความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุโรคเบาหวานต่อไป | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | เบาหวานในผู้สูงอายุ | |
dc.subject | Health Sciences | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ | |
dc.subject | การหกล้มในผู้สูงอายุ | |
dc.subject | ผู้ป่วยสูงอายุ | |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน | |
dc.title.alternative | Fctors relted to fer of flling mong older dults with dibetes mellitus | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Fear of falling is a common and potentially daily activity restriction and diabetic control among older adults. This research is descriptive correlation research aimed to study fear of falling and factors related to fear of falling among older adults with diabetes mellitus. The sample of 115 older adults with diabetes mellitus who visited diabetes mellitus clinic at subdistrict hospitals in Muang district, Chonburi province were randomly selected by stratified random sampling and simple random sampling. The research instruments included the demographic questionnaire and health status perception interview, the Thai Modified Falls Efficacy Scale [TMFES], Thai Geriatric Depression Scale [TGDS], the Timed up & Go test [TUG], Monofilament and Snellen chart. Analyze relationships by Spearman rank order correlation coefficient and Point -biserial correlation coefficient. The results revealed that the majority of the sample had fear of falling (53.90%). Health status perception was moderate negatively correlated (rs= -.354, p< .01) whereas diabetic peripheral neuropathy was low positively correlated (rpb= .294, p= .001) and gait and balance control was low negatively correlated (rs= -.251, p= .003) with fear of falling among older adults with diabetes mellitus at level of .01. Depression and visual acuity were low positively correlated (rs= .221,p= .009; rpb= .205, p= .028) with fear of falling among older adults with diabetes mellitus at level of .05. However, sex, age and fall experience were not statistically significant relate to fear of falling among older adults with diabetes mellitus at level of .05. (rpb= -.139, p= .069; rs= -.103, p= .137; rs= .087, p= .357). Healthcare providers should emphasize fear of falling among older adults with diabetes mellitus, especially who have low perception health status, diabetic peripheral neuropathy, gait and balance ability impairment, depression and visual acuity impairment. The findings can be used as the basis for establishing clinical nursing practice guidelines or interventions to reduce fear of falling or promote confidence of daily activity among this group | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การพยาบาลผู้สูงอายุ | |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58920232.pdf | 3.69 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น