กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7862
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของการได้รับข้อมูล การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The influences of informtion received,perceived benefits nd perceived brriers on preconception helth behvior mong husbnds of pregnnt women
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณี เดียวอิศเรศ
วรรณทนา ศุภสีมานนท์
จารุวรรณ จันทร์แจ้ง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: สูติศาสตร์
ครรภ์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากจะช่วยลดผลลัพธ์ที่ไม่ดีต่อการตั้งครรภ์ของภรรยาและทารกในครรภ์ ได้แก่ ในประเทศไทยยังพบการปฏิบัติ พฤติกรรมดังกล่าวน้อย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนภรรยาตั้งครรภ์และอิทธิพลของการได้รับข้อมูลการรับรู้ประโยชน์การรับรู้อุปสรรคเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนภรรยาตั้งครรภ์ต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์กลุ่มตัวอย่าง คือ สามีของสตรีตั้งครรภ์แรกที่ภรรยามารับบริการ ณ แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล จำนวน 85 รายเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่สามีมีพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนภรรยาตั้งครรภ์ดี โดยพฤติกรรมที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ งด/ลดใช้สารเสพติด (ร้อยละ 95.3) งด/ลดสูบบุหรี่ (ร้อยละ 88.2) งด/ลดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 80) แต่พฤติกรรมที่สามีปฏิบัติเป็นส่วนน้อย คือ การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (ร้อยละ 34.1) การตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมและโรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีน (ร้อยละ 36.5) การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (ร้อยละ 47.1) การได้รับข้อมูลการรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์ได้ ร้อยละ 19.9 (R 2 = .199, F3,8 1= 6.72, p< .01). การได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์เป็นปัจจัยเดียวที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมของสามีก่อนภรรยาตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( = .29, p< .01). จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรให้ความรู้ กระตุ้น และรณรงค์ให้สามีของสตรีตั้งครรภ์เห็นความสำคัญในการเข้ารับบริการเตรียมความพร้อมก่อนที่ภรรยาจะตั้งครรภ์โดยเฉพาะในเรื่องการเข้ารับบริการที่คลินิกการเตรียมความพร้อมก่อนที่ภรรยาจะตั้งครรภ์การเข้ารับบริการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี การตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมและโรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีน และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7862
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น