กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7861
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors influencing physicl ctivity mong ptients with cute myocrdil infrction receiving percutneous coronry intervention
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาภรณ์ ด้วงแพง
วัลภา คุณทรงเกียรติ
พัชรินทร์ วรรณโพธิ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: กล้ามเนื้อหัวใจตาย -- ผู้ป่วย -- การดูแล
กล้ามเนื้อหัวใจตาย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
Health Sciences
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การมีกิจกรรมทางกายภายหลังการได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ มีความสำคัญยิ่งในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลได้แก่ ความรุนแรงของโรคความฉลาดทางสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคมต่อกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจคัดเลือก กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 89 ราย เป็นผู้ป่วยที่มารับการรักษาติดตามที่ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้าจังหวัดจันทบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือวิจจัยเป็นแบบสอบถามที่ให้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ตอบเอง ได้แก่ แบบสอบถามความฉลาดทางสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และกิจกรรมทางกาย มีค่าความเชื่อมั่น ของสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .82, .85, .71 และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ความรุนแรงของโรคเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดของกิจกรรมทางกาย (Beta= .562) รองลงมาคือการสนับสนุนทางสังคม (Beta= .230) และการรับรู้สมรรถนะแห่งตน (Beta = .196) ปัจจัยทั้งสามนี้มีอิทธิพลและสามารถร่วมกันทำนายกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจได้ร้อยละ 55.0 (R 2 = .550, F = 34.606, p< .001) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาแนวทางหรือโปรแกรมการพยาบาลเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยนั้นสามารถทำกิจกรรมทางกายได้อย่างเหมาะสม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7861
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น