กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7860
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดต่อความจำและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านความจำในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่อง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of cognitive stimultion progrm on memory nd perceived memory self-efficcy mong older dults with mild cognitive impirment
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
ดวงใจ วัฒนสินธุ์
สาวิตรี จีระยา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ
การรู้คิดในผู้สูงอายุ
Humanities and Social Sciences
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องในระยะเริ่มต้น หากได้รับการคัดกรองและกระตุ้นด้วยกิจกรรมที่เหมาะสมจะช่วยชะลอความเสื่อมได้การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดต่อความจำและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านความจำในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องกลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองไทร อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีที่มีการรู้คิดบกพร่องซึ่งประเมินโดยใช้แบบประเมินพุทธิปัญญา และมีคุณสมบัติตามที่กำหนด จํานวน 23 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง จํานวน 11 คน และกลุ่มควบคุม จํานวน 12คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิด จํานวน 8 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย ด้านเกี่ยวกับความจำ และแบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนด้านความจำ -4 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .70 และ .96 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา การทดสอบที และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความจำไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุม (p > .05) คะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านความจำในกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่ม ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F1,21= 7.69, p < .05) และในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ สมรรถนะแห่งตนด้านความจำในระยะติดตามผล 1 เดือน ( X = 83.27, SD = 14.32) สูงกว่าระยะหลังการทดลอง ( X = 79.41, SD = 16.58) และระยะก่อนการทดลอง ( X = 57.23, SD = 24.17) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมนี้มีประสิทธภาพ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน สุขภาพจิตและจิตเวช ตลอดจนบุคลากรทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง สามารถนำโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการรับรู้ของผู้สูงอายุด้านสมรรถนะแห่งตนด้านความจำ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7860
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.61 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น