กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7860
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
dc.contributor.advisorดวงใจ วัฒนสินธุ์
dc.contributor.authorสาวิตรี จีระยา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:12:55Z
dc.date.available2023-05-12T06:12:55Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7860
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องในระยะเริ่มต้น หากได้รับการคัดกรองและกระตุ้นด้วยกิจกรรมที่เหมาะสมจะช่วยชะลอความเสื่อมได้การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดต่อความจำและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านความจำในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องกลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองไทร อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีที่มีการรู้คิดบกพร่องซึ่งประเมินโดยใช้แบบประเมินพุทธิปัญญา และมีคุณสมบัติตามที่กำหนด จํานวน 23 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง จํานวน 11 คน และกลุ่มควบคุม จํานวน 12คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิด จํานวน 8 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย ด้านเกี่ยวกับความจำ และแบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนด้านความจำ -4 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .70 และ .96 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา การทดสอบที และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความจำไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุม (p > .05) คะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านความจำในกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่ม ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F1,21= 7.69, p < .05) และในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ สมรรถนะแห่งตนด้านความจำในระยะติดตามผล 1 เดือน ( X = 83.27, SD = 14.32) สูงกว่าระยะหลังการทดลอง ( X = 79.41, SD = 16.58) และระยะก่อนการทดลอง ( X = 57.23, SD = 24.17) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมนี้มีประสิทธภาพ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน สุขภาพจิตและจิตเวช ตลอดจนบุคลากรทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง สามารถนำโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการรับรู้ของผู้สูงอายุด้านสมรรถนะแห่งตนด้านความจำ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectผู้สูงอายุ
dc.subjectการรู้คิดในผู้สูงอายุ
dc.subjectHumanities and Social Sciences
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.titleผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดต่อความจำและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านความจำในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่อง
dc.title.alternativeThe effects of cognitive stimultion progrm on memory nd perceived memory self-efficcy mong older dults with mild cognitive impirment
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeFor older adults with Mild Cognitive Impairment (MCI), if they receive an early detection and stimulation with proper activities, it could help slow down their deterioration. The purposes of this quasi-experimental research were to determine effects of cognitive stimulation program on memory and perceived memory self-efficacy among older adults with MCI. The sample included 23 older adults who were members of Ban Nhong-sai eldery club in Panasnikom district, Chon Buri province with MCI screened by using Montreal Cognitive Assessment (MoCA), and met the study inclusion criteria. Random assignment was used to assign the participants into 2 groups of 11 in the experimental group and 12 in the control group. Participants in the experimental group received the intervention program for 8 sessions, 2 sessions per week while those in the control group received a usual care. Data collection was carried out from April to June 2017. Research instuments included the Mini-Mental State Examination, Thai Version 2002 (MMSE-Thai 2002) of a memory testing part, and the Memory SelfEfficacy Questionnaire-4 (MSEQ-4). Their reliabilities were .70 and .96, repectively. Descriptive statistics, independent t-test, two-way repeated measure ANOVA were used to analyzed the data. The results revealed that there was not significant different of the mean scores of memory between the experimental and the control groups (p> .05). However, the mean scores of perceived memory self-efficacy in the experimental group was greater than those in the control group (F1,21 = 7.69, p< .05). Within the experimental group, the mean scores of perceived memory self-efficacy at 1-month follow-up ( = 83.27, SD = 14.32) was significantly higher than at post-test ( = 79.41, SD = 16.58), and at pre-test ( = 57.23, SD = 24.17). This findings indicate that this program is effective. Nurses who are responsible for mental health and psychiatric care as well as related health care provider could utilize this cognitive stimulation program to enhance older adults’ perception towards their self-efficacy about memory.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.61 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น