กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7854
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยทำนายความว้าเหว่ของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่พักรักษาในโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Fctorspredicting loneliness of hospitlized cncer ptients in chonburi cncer hospitl |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ยุพิน ถนัดวณิชย์ วัลภา คุณทรงเกียรติ ลัดดาวัล ฟองค์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มะเร็ง -- ผู้ป่วย -- การรักษา มะเร็ง มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ มะเร็ง -- โรค Health Sciences |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ผู้ป่วยโรคมะเร็งส่วนใหญ่มีความเสี่ยงในการเกิดความว้าเหว่ อันเป็นผลมาจากการเจ็บป่วย และอาจส่งผลกระทบด้านสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัวและบุคคลในสังคมได้การศึกษา หาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความว้าเหว่และปัจจัยทำนายความว้าเหว่ (ได้แก่ ความเครียด ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และความปวด) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัด การฉายรังสี และ/ หรือการผ่าตัดที่หอผู้ป่วยสามัญหญิง หอผู้ป่วยสามัญชาย และหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตและศัลยกรรม โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรีที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 77 รายเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความว้าเหว่ 3) แบบประเมินความเครียด 4) แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และ 5) แบบประเมินความปวดได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficients) ของแบบประเมินความเครียด แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และแบบประเมินความว้าเหว่ เท่ากับ .83, .88 และ .95 ตามลำดับ ส่วนแบบประเมินความปวดมีค่าความคงที่แบบวัดซ้ำ (Test-retest reliability) เท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคมะเร็งในโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี มีความว้าเหว่ ( ̅= 68.18, SD =6.73) และความเครียด ( ̅= 24.97, SD =5.42) ในระดับปานกลาง ส่วนความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองในระดับสูง ( ̅= 34.48, SD =4.54) และมีความปวดที่มีความรุนแรงในระดับต่ำ ( ̅= 3.39, SD =2.26) ความเครียดเป็นปัจจัยเดียวที่สามารถทำนายความว้าเหว่ของกลุ่มตัวอย่าง (R 2 = .156, p < .001) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลควรตระหนักถึงความสำคัญทำความเข้าใจ และหาแนวทางจัดการความเครียดเพื่อป้องกันความว้าเหว่ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7854 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.98 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น