กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7841
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้ในการดูแลตนเองพฤติกรรมการดูแลตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางไต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of the supportive-eductive nursing progrm on knowledge, self-cre behvior nd clinicl outcomes mong hypertensive ptients t risk of renl complictions
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เขมารดี มาสิงบุญ
วัลภา คุณทรงเกียรติ
มลิวัลย์ ชัยโคตร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ความดันเลือดสูง -- ผู้ป่วย -- การดูแล
ความดันเลือดสูง
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
Health Sciences
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ทําให้มีการเสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกาย รวมทั้งส่งผลต่อการทํางานของไตทําให้เกิดภาวะไตเรื้อรังได้ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้ในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง และผลลัพธ์ทางคลินิกกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางไตที่มีคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 ราย โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วยโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางไต คู่มือการดูแลตนเอง สื่อวิดิทัศน์ และโมเดลอาหาร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และการดูแลตนเองมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.84 และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไค-สแควส์ ทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ้า ผลการทดลองพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางไตในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านผลลัพธ์ทางคลินิก พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าอัตราการกรองของไตระยะติดตามผลไม่แตกต่างกันกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีค่าไมโครอัลบูมินในปัสสาวะระยะติดตามผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า พยาบาลควรใช้โปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ความดันโลหิตสูงทุกรายเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7841
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf8.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น