กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7841
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเขมารดี มาสิงบุญ
dc.contributor.advisorวัลภา คุณทรงเกียรติ
dc.contributor.authorมลิวัลย์ ชัยโคตร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:12:52Z
dc.date.available2023-05-12T06:12:52Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7841
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ทําให้มีการเสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกาย รวมทั้งส่งผลต่อการทํางานของไตทําให้เกิดภาวะไตเรื้อรังได้ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้ในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง และผลลัพธ์ทางคลินิกกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางไตที่มีคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 ราย โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วยโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางไต คู่มือการดูแลตนเอง สื่อวิดิทัศน์ และโมเดลอาหาร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และการดูแลตนเองมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.84 และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไค-สแควส์ ทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ้า ผลการทดลองพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางไตในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านผลลัพธ์ทางคลินิก พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าอัตราการกรองของไตระยะติดตามผลไม่แตกต่างกันกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีค่าไมโครอัลบูมินในปัสสาวะระยะติดตามผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า พยาบาลควรใช้โปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ความดันโลหิตสูงทุกรายเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความดันเลือดสูง -- ผู้ป่วย -- การดูแล
dc.subjectความดันเลือดสูง
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
dc.subjectHealth Sciences
dc.titleผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้ในการดูแลตนเองพฤติกรรมการดูแลตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางไต
dc.title.alternativeEffects of the supportive-eductive nursing progrm on knowledge, self-cre behvior nd clinicl outcomes mong hypertensive ptients t risk of renl complictions
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeHypertension which is uncontrollable could cause deterioration of blood vessels and affect on kidney function leading to chronic kidney failure. This quasi experimental research aimed to examine the effects of supportive-educative nursing program on knowledge, self-care behavior and clinical outcomes among hypertension patients who are at risk of renal complications. The sample washypertension patients at risk of renal complications and met the inclusion criteria. They were randomly selected into an experimental and a control group, n=25 per group. The supportive-educative nursing program was implemented in the experimental group for a period of 8 weeks, while the control group received regular nursing care. The instruments included supportive and educative nursing program, hand books of self-care, video media and food model. The instruments for data collection consisted of demographic data, knowledge, and self-care behavior questionnaires. The reliabilities were 0.84 and 0.87, respectively. Descriptive statistics, Chi-square, independent t-test and repeated measures ANOVA were employed for data analyses. The results showed that the mean scores of knowledge and self-care behavior among patients who received this supportive-educative nursing program at posttest and follow-up phase were significantly higher than the control group at p value of .05. For clinical outcomes, estimated glomerular filtration ratesbetween these two groups at posttest was not significantly different at p value of .05. Whereas, the valuesof microalbuminuria between these two group at posttest were significantly different at p value of .05 The research results suggested that nurses could apply this supportive-educative nursing program to all cases of hypertension patients in order to reduce risk of renal complications.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf8.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น