กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7833
ชื่อเรื่อง: ฮิวริสติกแบบกำหนดการเชิงเส้นจำนวนเต็มผสมสำหรับปัญหาการจัดตารางการผลิตของระบบการผลิตแบบตามงาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Mixed integer liner progrmming bsed Heuristic for job shop scheduling problem.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จักรวาล คุณะดิลก
พัชรินทร์ ศรีสองสกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
การกำหนดงานการผลิต
ฮิวริสติกอัลกอริทึม
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เสนอวิธีการจัดตารางการผลิตของระบบการผลิตแบบตามงานที่มีสองจุดประสงค์คือการทำให้เวลาปิดงานของระบบและเวลาสายสูงสุดของทุกงานต่ำที่สุด การจัดตารางการผลิตเดิมของกระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งที่มีลักษณะการผลิตเป็นระบบการผลิตแบบตามงานใช้วิธีการกำหนดลำดับความสำคัญของงานจากกำหนดส่งมอบเร็วกว่าให้ทำการผลิตก่อน (Earliest due date, EDD) ซึ่งให้ผลเวลาปิดงานของระบบสูงและไม่สามารถส่งมอบงานได้ทันตามกำหนด งานวิจัยนี้ออกแบบฮิวริสติกแบบกำหนดการเชิงเส้นจำนวนเต็มผสม (Mixed integer linear programming based heuristic, MILP_H) โดยมีการแบ่งงานที่ต้องการจัดตารางการผลิตที่มีจำนวนมากออกเป็นกลุ่มย่อยตามกฏลำดับความสำคัญแบบ EDD ตารางการผลิตของกลุ่มย่อยหนึ่ง ๆ ถูกสร้างขึ้นจากแบบจำลองกำหนดการเชิงเส้นจำนวนเต็มผสม (Mixed integer linear programming, MILP) หากไม่มีงานสายเกิดขึ้นจะใช้ MILP ที่มีจุดประสงค์ที่ทำให้เวลาปิดงานของระบบต่ำที่สุด แต่หากมีงานสายเกิดขึ้นจะใช้ MILP ที่มีจุดประสงค์ที่ทำให้ผลรวมแบบถ่วงน้ำหนักของเวลาปิดงานของระบบและเวลาสายสูงสุดของทุกงานต่ำที่สุด โดยให้น้ำหนักเวลาสายสูงสุดมากกว่าเวลาปิดงานเพื่อลดเวลาการทำงานล่วงเวลาในการผลิตงานที่เสร็จไม่ทันตามกำหนด ส่งมอบตารางการผลิตของกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มย่อยจะถูกนำมารวมกันตามลำดับกลุ่ม EDD ให้เป็นตารางการผลิตสำหรับใช้งานซอฟต์แวร์ OpenSolver ด้วยโปรแกรมประมวลผล Gurobi 7.5.2 ถูกนำมาใช้ในการหาผลลัพธ์ที่เหมาะสมของแบบจำลอง MILPโดยกำหนดเวลาประมวลผลสูงสุด เท่ากับ 600 วินาที การทดสอบประสิทธิภาพเปรียบเทียบกับวิธีการเดิมด้วยปัญหาการจัดตารางการผลิตจริงและปัญหาจำลองด้วยคอมพิวเตอร์รวม 15 ปัญหา จำนวนงานเฉลี่ย 47 งาน และแต่ละงานมีขั้นตอนการผลิตที่แตกต่างกัน 4 เครื่องจักรจากทั้งหมด 9 เครื่องจักรผลการวิจัยพบว่า ตารางการผลิตที่สร้างด้วยวิธี MILP_H สามารถลดเวลาปิดงานลงได้เฉลี่ย 220 นาทีและลดเวลาสายสูงสุดลงได้เฉลี่ย 74 นาที หรือคิดเป็นการลดลงร้อยละ 4.22 และ 22.62 ตามลำดับ
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7833
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น