กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7829
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการควบคุมงานก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Fctors ffecting efficiency of construction super vision for reinforced concrete pvement of lem chbng municiplity, srirch district chon buri province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิเชียร ชาลี รัฐพงษ์ รัตนโคตร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การก่อสร้างคอนกรีต -- การควบคุมคุณภาพ การก่อสร้าง -- การอำนวยการและกำกับการแสดง ถนน -- การออกแบบและการสร้าง มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการงานก่อสร้างและงานโครงสร้างพื้นฐาน |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการควบคุมงานก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และเพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในงานควบคุมงานก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีการก่อสร้างในภาครัฐโดยการวิจัยครั้งนี้สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้าง ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก เช่น ผู้อำนวยการสำนักการช่างผู้อำนวยการส่วนหัวหน้าฝ่ายวิศวกร สถาปนิก นายช่างโยธา หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมงานก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กของเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 113 ชุด สอบถามไปยังเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมาทั้งหมดในการวิเคราะห์ผลได้ใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เป็นต้น จากการวิเคราะห์ทางสถิติผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการควบคุมงานก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นอันดับแรก คือ ด้านคุณสมบัติของผู้ควบคุมงานก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค่าเฉลี่ยรวม 4.02) ปัจจัยอันดับที่สอง คือ ด้านรูปแบบและมาตรฐานงานก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค่าเฉลี่ยรวม 3.97) ปัจจัยอันดับที่สาม คือ ด้านเอกสารสัญญา (ค่าเฉลี่ยรวม 3.76) ปัจจัยอันดับที่สี่ คือ ด้านลักษณะกายภาพของโครงการ (ค่าเฉลี่ยรวม 3.65) ปัจจัยอันดับที่ห้า คือ ด้านฝีมือแรงงานและเครื่องจักร (ค่าเฉลี่ยรวม 3.55) ปัจจัยอันดับที่หก คือ ด้านการบริหารจัดการ (ค่าเฉลี่ยรวม 3.42) และปัจจัยด้านสุดท้าย คือ ปัจจัยด้านการเงิน (ค่าเฉลี่ยรวม 3.19) |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7829 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.57 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น