กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7828
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สันติพงษ์ ปลั่งสุวรรณ | |
dc.contributor.advisor | นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร | |
dc.contributor.advisor | เสกสรรค์ ทองคำบรรจง | |
dc.contributor.author | วีรพรรณ จันทร์ขาว | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T06:08:03Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T06:08:03Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7828 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการสอนว่ายน้ำแบบเพื่อนช่วยเพื่อนต่อความสามารถในการว่ายน้ำท่าครอล สโตรคและท่ากรรเชียง 2) เปรียบเทียบความสามารถในการว่ายน้ำท่าครอล สโตรคและท่ากรรเชียงจากการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับแบบปกติ 3) ศึกษาผลของการสอนว่ายน้ำที่ส่งผลต่อทัศนคติในการเรียนว่ายน้ำแบบเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวทิยาลัยบูรพาที่ยังไม่เคยผ่านการเรียนว่ายน้ำที่อาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมการสอนว่ายน้ำท่าครอล สโตรคและท่ากรรเชียงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานของสุกาญดา คงสมรส (2553) ที่นำมาประยุกต์ใช้กับ 2 ท่าว่าย ได้แก่ ทักษะการว่ายน้ำท่าครอล สโตรคและ ทักษะการว่ายน้ำท่ากรรเชียงและแบบสัมภาษณ์ด้านทัศนคติในการเรียนว่ายน้ำแบบมีโครงสร้างสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่าง ระหว่างช่วงของการทดสอบทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติการวัดความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (ANOVA with repeated measure) และทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลของการสอนว่ายน้ำแบบเพื่อนช่วยเพื่อนต่อความสามารถในการว่ายน้ำท่าครอล สโตรค และท่ากรรเชียง มีการพัฒนาความสารมารถเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ระยะก่อนการทดลองจนถึงระยะหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการว่ายน้ำท่าครอล สโตรคและท่ากรรเชียง จากการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับแบบปกติไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. การเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนทำให้ผู้เรียนมีทัศนคติในการเรียนที่ดี ความเข้าใจ ในท่าทางขั้นตอนวิธีการว่ายน้ำมากขึ้น และวิธีการแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ในการว่ายน้ำทำ ให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน และได้พูดคุยกันมากขึ้น | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การว่ายน้ำ | |
dc.subject | Health Sciences | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา | |
dc.subject | การว่ายน้ำ -- การฝึก | |
dc.title | ประสิทธิผลของการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนที่มีต่อความสามารถในการว่ายน้ำ | |
dc.title.alternative | Effectiveness of peer ssistnt teching technique on swimming performnce | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research were aimed 1) to examine the effects of peer assistant technique on swimming performance (Crawl and back strokes), 2) to compare the difference between crawl stroke and back stroke performance through peer assistant technique and regular teaching technique, and 3) to examine the effect of peer assistant technique towards the attitude of study participants. The participants were 24 students at Faculty of Sport Science, Burapha University who have not experienced in swimming. Study tools were swimming programs and basic swimming skill test (Kongsomros, 2010) as well as semi-construct interview developed by the researcher. Means and standard deviation, were used for demographic as well as analysis of variance with repeated measure for the difference between three different time measures. The p-value set at .05. Results of the study were 1) the peer assist teaching technique can progressively increase participants’ swimming performance from the beginning until the final stage statistically significant at .05., 2) the swimming performance of both techniques, crawl stroke and back stroke, were no significant difference., and 3) qualitative analysis indicate that the positive attitude toward peer assistant teaching technique can help more understand upon stage of swimming, how to swim and mistaking correction. The technique can increase the enjoyment while they swim. The interaction and talk between their friends created more positive environment. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.54 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น