กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7827
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการจัดการการออกแบบสนามแบดมินตันมาตรฐานที่สอดคล้องกับแนวคิดสถาปัตยกรรมสีเขียว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Design mngement guidelines for bdminton court corresponding to green rchitecture concept |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสกสรรค์ ทองคำบรรจง นภพร ทัศนัยนา ปฏิพล แสงวิเศษ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
คำสำคัญ: | Humanities and Social Sciences แบดมินตัน มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา สนามแบดมินตัน |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวทางการบริหารจัดการในการออกแบบสนามแบดมินตัน มาตรฐานที่สอดคล้องกับแนวคิดสถาปัตยกรรมสีเขียวกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นเจ้าของสนามแบดมินตัน สถาปนิกวิศวกร จำนวน 19 ท่าน โดยเป็นการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยเทคนิควิจัยแบบ EDFR รวม 3 รอบ พิจารณาฉันทามติด้วยค่ามธัยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อจัดทำเป็นแนวทางการบริหารจัดการออกแบบสนามแล้วนำไปยืนยันด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 5 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1. เกณฑ์แนวคิดมาตรฐานอาคารสีเขียว ประกอบด้วย 22 ประเด็นหลัก ประเด็นที่ผู้เชี่ยวชาญมี ความเห็นด้วยระดับมากที่สุด คือ ใช้วัสดุทนความร้อน ระบายความร้อนได้ดีการใช้สีสะท้อนความร้อน การปลูกต้นไม้หรือไม้เลื่อยเพื่อลดความร้อน การใช้หลอดแอลอีดีประเด็นที่เห็นด้วยระดับมากคือการก่อสร้าง ควรใช้บริษัทที่เชี่ยวชาญทำหน้าที่ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ทำเลที่ตั้งใกล้แหล่งชุมชน คำนึงถึงระบบแสงและการหมุนเวียนระบายอากาศการติดตั้งหัวฉีดน้ำบนหลังคาเพื่อระบายความร้อน การใช้พลังงานแสงอาทิตย์การบำบัดน้ำ และนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ประเด็นที่เห็นด้วยระดับ ปานกลางคือการวางตำแหน่งอาคารให้เหมาะสมกับทิศทางแดดและลม การใช้ลูกหมุนบนหลังคาการทำสระน้ำรอบอาคารและการใช้สุขภัณฑ์แบบระบบอัตโนมัติ 2. มาตรฐานสนามแบดมินตัน แนวทางประกอบด้วย 17 ประเด็นหลัก ประเด็นที่เห็นด้วยระดับมากที่สุด คือ สนามควรเป็นพื้นยางสังเคราะห์ผนังควรมีสีทึบ ส่วนสูงของเพดานตามมาตรฐาน มีบอร์ด ประชาสัมพันธ์มีห้องอาบน้ำ และตู้ล็อกเกอร์อย่างเพียงพอ ประเด็นที่เห็นด้วยระดับมาก คือ มีระยะห่างระหว่างคอร์ด มีจำนวนสนาม 4 สนามขึ้นไป ใช้ไฟแผงด้านข้างสนาม มีความเข้มของแสงไม่น้อยกว่า 300 ลักซ์ มีโซนอบอุ่นร่างกาย ล็อบบี้พักคอย อุปกรณ์ปฐมพยาบาลและมีระบบการหมุนเวียนอากาศ ประเด็นที่เห็นด้วยระดับปานกลาง คือ การมีห้องฟิตเนส 3. ส่วนประสมทางการตลาด ประกอบด้วย 19 ประเด็น หลักประเด็นที่เห็นด้วยระดับมากที่สุด คือ สนามเป็นพื้นยางสังเคราะห์ที่ได้มาตรฐานตั้งอยู่ใกล้แหล่งชุมชนและสะดวกต่อการเข้าถึงมีพื้นที่จอดรถที่เพียงพอ มีการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม การจำแนกอัตราค่าบริการสำหรับบุคคลทั่วไปและสมาชิก ระบบการจองสนามมีความสะดวกและรวดเร็ว เจ้าหน้าที่มนุษยสัมพันธ์ดีให้ข้อมูลต่าง ๆ ได้ดีมีการเปิดสอนแบดมินตัน ประเด็นที่เห็นด้วยระดับมากคือกำหนดอัตราค่าบริการที่เหมาะสม มีบริการอินเตอร์เน็ต จำหน่ายอุปกรณ์แบดมินตัน วางระเบียบการใส่รองเท้าพื้นยางและมีการออกแบบโลโก้ของสนาม ประเด็นที่เห็นด้วยระดับปานกลาง คือ การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมระบบภายในอาคารและการเช่าที่ดินเพื่อทำธุรกิจสนาม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7827 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.15 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น